Translate

วันพฤหัสบดีที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

วีดีโอเรียนรู้เป็นช่างไฟฟ้า




ความรู้เบื้องต้นกับงานไฟฟ้า




ช่างไฟฟ้าเบื้องต้น





การติดตั้งสายไฟฟ้าในอาคาร



หน่วยทางไฟฟ้า

  หน่วยไฟฟ้าเป็นสิ่งที่จะบ่งบอกถึงปริมาณการใช้ไฟฟ้าของอุปกรณ์ไฟฟ้านั้น ๆ  ว่ามีมากน้อยเพียงใด มีการบอกค่าต่างๆ  ดังนี้


1.  กระแสไฟฟ้ามีหน่วยเป็น Ampere  เป็นหน่วยมาตรฐาน  ใช้ตัว I  แทนกระแสไฟฟ้า
หน่วยกระแสไฟฟ้า
ตัวย่อ
การเปรียบเทียบหน่วย
Mega  ampere
MA
MA
=
1000  kA
1 kA
=
1000  A
A
=
1000  mA
mA
=
1000  mA
Kilo ampere
kA
Ampere
amp , A
Mili  ampere
mA
Micro  ampere
mA

2. แรงดันไฟฟ้า มีหน่วยเป็น Volt เป็นหน่วยมาตรฐาน ใช้ตัว E หรือ V แทนแรงดันไฟฟ้า
หน่วยแรงดันไฟฟ้า
ตัวย่อ
การเปรียบเทียบหน่วย
Mega  volt
MV
MV
=
1000  kV
1 kV
=
1000  V
V
=
1000  mV
mV
=
1000  mV
Kilo volt
kV
Volt
V
Mili  volt
mV
Micro  volt
mV

3. ความต้านทานไฟฟ้า  มีหน่วยเป็น  Ohm  เป็นหน่วยมาตรฐาน  ใช้ตัว  R  แทนความต้านทาน
หน่วยความต้านทาน
ตัวย่อ
การเปรียบเทียบหน่วย
Mega  ohm
MW
MW
=
1000 kW
1 kW
=
1000  W
Kilo ohm
                    kW
Ohm
W

4. กำลังไฟฟ้ามีหน่วยเป็น  Watt  เป็นหน่วยมาตรฐาน  ใช้ตัว  P  แทนกำลังไฟฟ้า
หน่วยกำลังไฟฟ้า
ตัวย่อ
การเปรียบเทียบหน่วย
Mega  watt
MW
MW
=
1000  kW
1 kW
=
1000  W
W
=
1000  mW
mW
=
1000  mW
Kilo watt
kW
Watt
W
Mili  watt
mW
Micro  watt
mW


การตรวจสอบอุปกรณ์และเครื่องใช้ไฟฟ้าขั้นต้น

สายไฟฟ้า
  • สายไฟฟ้าเก่าหรือหมดอายุใช้งาน สังเกตได้จากฉนวนจะแตกหรือแห้งกรอบบวม
  • ฉนวนสายไฟชำรุด อาจเกิดจากหนูหรือแมลงกัดแทะหรือวางของหนักทับ เดินสายไฟใกล้แหล่งความร้อน ถูกของมีคมบาด
  • จุดต่อสายไฟต้องให้แน่น หน้าสัมผัสให้ดี พันฉนวนให้เรียบร้อยขนาดของสายไฟฟ้า ใช้ขนาดของสายให้เหมาะสมกับปริมาณกระแสที่ไหลในสาย หรือให้เหมาะสมกับเครื่องใช้ไฟฟ้าในวงจรนั้น
  • สายไฟฟ้าต้องไม่เดินอยู่ใกล้แหล่งความร้อน สารเคมี หรือถูกของหนักทับ เพราะทำให้ฉนวนชำรุดได้ง่าย และเกิดกระแสไฟฟ้าลัดวงจรขึ้นได้
  • สายไฟฟ้าต้องไม่พาดบนโครงเหล็ก รั้วเหล็ก ราวเหล็ก หรือส่วนที่เป็นโลหะต้องเดินสายไฟฟ้าโดยใช้พุกประกับ หรือร้อยท่อให้เรียบร้อย เพื่อป้องกันกระแสไฟฟ้ารั่วลงบนโครงโลหะ ซึ่งจะเกิดอันตรายขึ้นได้
เต้ารับ-เต้าเสียบ
  • เต้ารับ เต้าเสียบ ต้องไม่แตกร้าว และไม่มีรอยไหม้
  • การต่อสายที่เต้ารับและเต้าเสียบ ต้องให้แน่น และใช้ขนาดสายให้ถูกต้อง
  • เต้าเสียบ เมื่อเสียบใช้งานกับเต้ารับต้องแน่น
  • เต้ารับ ต้องติดตั้งในที่แห้ง ไม่เปียกชื้นหรือมีน้ำท่วม และควรติดให้พ้นมือเด็กเล็กที่อาจเล่นถึงได้
แผงสวิตช์ไฟฟ้า
  • ต้องติดตั้งในที่แห้งไม่เปียกชื้นและสูงพอควร ห่างไกลจากสารเคมีและสารไวไฟต่าง ๆ
  • ตรวจสอบดูว่ามี มด แมลงเข้าไปทำรังอยู่หรือไม่ หากพบว่ามี ให้ดำเนินการกำจัด
  • อย่าวางสิ่งกีดขวางบริเวณแผงสวิตช์
  • ควรมีผังวงจรไฟฟ้าโดยสังเขปติดอยู่ที่แผงสวิตช์ เพื่อให้ทราบว่าแต่ละวงจรจ่ายไฟไปที่ใด
  • แผงสวิตช์ที่เป็นตู้โลหะควรทำการต่อสายลงดิน
สวิตช์ตัดตอนชนิดคัดเอาท์
  • ตัวคัทเอาท์และฝาครอบต้องไม่แตก
  • ใส่ฟิวส์ให้ถูกขนาดและมีฝาครอบปิดให้มิดชิด
  • ห้ามใช้วัสดุอื่นใส่แทนฟิวส์
  • ขั้วต่อสายที่คัทเอาท์ต้องแน่นและใช้ขนาดสายให้ถูกต้อง
  • ใบมีดของตัทเอาท์เมื่อสับใช้งานต้องแน่น
เบรกเกอร์
  • ตรวจสอบฝาครอบเบรคเกอร์ต้องไม่แตกร้าว
  • ต้องมีฝาครอบปิดเบรคเกอร์ให้มิดชิด
  • ต้องติดตั้งในที่แห้งไม่เปียกชื้นและห่างไกลจากสารเคมีสารไวไฟต่าง ๆ
  • เลือกเบรคเกอร์ที่มีขนาดเหมาะสมกับอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้า
ตู้เย็น-ตู้แช่
  • ให้ตรวจสอบตู้เย็น ตู้แช่ ว่ามีกระแสไฟฟ้ารั่วหรือไม่ โดยใช้ไขควงเช็คไฟ หากพบว่ามีกระแสไฟฟ้ารั่วให้แก้ไขก่อนใช้งานต่อไป
  • ให้นำแผ่นฉนวน เช่น แผ่นยาง แผ่นพลาสติก ปูบริเวณหน้าตู้เย็น ตู้แช่ และแนะนำให้ผู้ที่จะไปเปิดตู้เย็น ตู้แช่ ให้ยืนอยู่บนแผ่นฉนวนดังกล่าวเพื่อป้องกันกระแสไฟฟ้าดูด หากเกิดกรณีกระแสไฟฟ้ารั่ว
  • ควรถอดปลั๊กตู้เย็น ตู้แช่ ออก หากท่านไม่ใช้งานเป็นเวลานานหรือท่านไม่อยู่บ้านเป็นเวลานาน
  • โครงโลหะของตู้เย็น ควรทำการต่อสายลงดิน
เครื่องปรับอากาศ
  • ตรวจสอบส่วนที่เป็นโครงโลหะของเครื่องปรับอากาศ (ซึ่งบุคคลสามารถเข้าไปจับต้องหรือสัมผัสได้) ว่ามีกระแสไฟฟ้ารั่วหรือไม่ โดยใช้ไขควงเช็คไฟหากพบว่ามีกระแสไฟฟ้ารั่วให้ดำเนินการซ่อมแซม
  • สายไฟฟ้าที่ใช้ต่อเข้าเครื่องปรับอากาศ ต้องใช้ขนาดที่ถูกต้องตามพิกัดการใช้งานของเครื่องปรับอากาศ
  • จุดต่อสายและจุดเข้าปลายสายทุกจุด ต้องทำให้แน่นและปิดฝาครอบหรือพันฉนวนให้เรียบร้อย
  • เครื่องปรับอากาศต้องไม่ติดตั้งใกล้สารหรือวัตถุไวไฟ
  • หากขณะใช้งานเครื่องปรับอากาศมีเสียงดังมากผิดปกติ ควรให้ช่างตรวจสอบและแก้ไข
  • ไม่ควรเปิดเครื่องปรับอากาศทิ้งไว้ เมื่อท่านออกจากบ้าน
หม้อหุงข้าว
  • ตรวจสอบส่วนที่เป็นโลหะของหม้อหุงข้าว โดยใช้ไขควงเช็คไฟหากพบว่ามีกระแสไฟฟ้ารั่วให้แก้ไขก่อนใช้งานต่อไป
  • ปลั๊กเสียบของหม้อหุงข้าวต้องไม่แตกร้าวและสายที่ขั้วปลั๊กไม่หักพับและเปลื่อยชำรุด
  • เมื่อเลิกใช้งานต้องถอดปลั๊กออกทันที
  • การใช้หม้อหุงข้าวให้ใส่หม้อหุงข้าวตัวในพร้อมปิดฝาให้เรียบร้อยแล้วจึงเสียบปลั๊กใช้งาน
  • การจับยกถือหม้อหุงข้าวให้ถอดปลั๊กให้เรียบร้อยก่อน
เครื่องซักผ้า
  • ปลั๊กเสียบของเครื่องซักผ้า ต้องไม่แตกร้าว และสายที่ขั้วปลั๊กไม่หักพับและเปลื่อยชำรุด
  • ปลั๊กเสียบของเครื่องซักผ้าเมื่อเสียบเข้ากับเต้ารับต้องให้แน่น
  • ให้ตรวจสอบส่วนที่เป็นโครงโลหะของเครื่องซักผ้า โดยใช้ไขควงเช็ดไฟหากพบว่ามีกระแสไฟฟ้ารั่วให้ดำเนินการซ่อมแซม
  • โครงโลหะของเครื่องซักผ้า ควรทำการต่อสายดิน
  • ผู้ใช้เครื่องซักผ้า ร่างกายต้องไม่เปียกชื้นและไม่ยืนอยู่บนพื้นที่เปียกแฉะขณะจับต้องเครื่องซักผ้า
  • เมื่อเลิกใช้งานต้องถอดปลั๊กเสียบออกทันที
พัดลมตั้งพื้น
  • ขณะใช้งานหากพัดลมมีเสียงดังผิดปกติ หรือมีกลิ่นไหม้ หรือหยุดหมุนมีเสียงครางให้หยุดใช้พัดลมทันที และนำไปตรวจซ่อมแก้ไข
  • ในที่ที่มีสารไวไฟไม่ควรใช้พัดลม เพราะอาจเกิดประกายไฟ ทำให้เกิดเพลิงไหม้ขึ้นได้ ในกรณีที่เป็นพัดลมตั้งพื้น ตั้งโต๊ะ
  • ให้ตรวจสอบส่วนที่เป็นโครงโลหะของพัดลม โดยใช้ไขควงเช็คไฟหากพบว่ามีกระแสไฟฟ้ารั่วให้ดำเนินการซ่อมแซม
  • ปลั๊กเสียบของพัดลมต้องไม่แตกร้าว และสายที่ขั้วปลั๊กไม่หักพับและเปื่อยชำรุด
  • เมื่อเลิกใช้งานทุกครั้ง ให้ดึงปลั๊กเสียบออก
พัดลมติดเพดาน, ฝาผนัง
  • เมื่อเลิกใช้ทุกครั้งให้ปิดสวิตช์
  • สวิตช์ปิด-เปิดพัดลม ต้องมีฝาครอบไม่แตกร้าว
  • หากสวิตช์พัดลมที่มีฝาครอบเป็นโลหะ ให้ตรวจสอบว่ามีกระแสไฟฟ้ารั่วหรือไม่ ตามที่กล่าวมาแล้ว
เครื่องปั๊มน้ำไฟฟ้า
  • ให้ตรวจสอบส่วนที่เป็นโลหะของเครื่องปั๊มน้ำไฟฟ้า โดยใช้ไขควงเช็คไฟหากพบว่ามีกระแสไฟฟ้ารั่วให้ดำเนินการซ่อมแซม
  • โครงโลหะของเครื่องปั๊มน้ำไฟฟ้า ควรทำการต่อสายดิน
  • ถ้าเครื่องปั๊มน้ำไฟฟ้า มีเสียงดังผิดปกติหรือไม่สามารถปั๊มน้ำขึ้นได้ห้ามใช้งานและดำเนินการตรวจสอบเครื่องปั๊มน้ำทันที
  • ต้องไม่ติดตั้งเครื่องปั๊มน้ำไฟฟ้าใกล้สารไวไฟ
  • เมื่อเลิกใช้งานให้ปิดสวิตช์ หากเป็นแบบปลั๊กเสียบให้ถอดปลั๊กเสียบออกทุกครั้ง
กาต้มน้ำไฟฟ้า
  • ปลั๊กเสียบของกาต้มน้ำไฟฟ้า เมื่อเสียบเข้ากับเต้ารับต้องให้แน่น เนื่องจากกาต้มน้ำไฟฟ้าใช้กระแสไฟฟ้จำนวนมาก
    เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดความร้อนที่ปลั๊กเสียบสูง
  • สายไฟฟ้าของกาต้มน้ำไฟฟ้า ต้องไม่เสื่อมสภาพ ฉีกขาด แตกร้าว
  • ให้ตรวจสอบส่วนที่เป็นโครงโลหะของกาต้มน้ำไฟฟ้าโดยใช้ไขควงเช็คไฟหากพบว่ามีกระแสไฟฟ้ารั่วให้ดำเนินการซ่อมแซม
  • กาต้มน้ำไฟฟ้า ควรวางอยู่บนสิ่งที่ไม่ติดไฟ เช่น แผ่นกระเบื้อง แผ่นแก้ว และต้องไม่อยู่ ใกล้สารที่ติดไฟ
  • ขณะใช้งาน ต้องระวังอย่าให้น้ำในกาต้มน้ำไฟฟ้าแห้ง
  • เมื่อเลิกใช้งาน ต้องถอดปลั๊กเสียบออกทันที
เตารีด
  • เต้าเสียบ(ปลั๊กเสียบ) ของเตารีด ต้องไม่แตกร้าวและสายที่ขั้วปลั๊กไม่หักพับและเปื่อยชำรุด
  • ตรวจสอบสายไฟที่ต่อที่เตารีดต้องให้แน่น เนื่องจากส่วนที่มีการเคลื่อนไหวอาจโยกคลอนในขณะใช้งาน และให้ตรวจสอบปลอกฉนวนยางที่หุ้มสายเข้าเตารีดอย่าให้เปื่อยและชำรุด
  • ปลั๊กเสียบของเตารีดเมื่อเสียบกับเต้ารับต้องให้แน่นเนื่องจากเตารีดใช้กระแสไฟฟ้าจำนวนมาก
    เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดความร้อนที่ปลั๊กเสียบสูง
  • เมื่อเลิกใช้งาน ต้องถอดปลั๊กเสียบออกทันที
  • การใช้งานอย่าวางเตารีดใกล้สิ่งที่จะติดไฟได้ง่ายเพราะอาจเกิดอุบัติเหตุเพลิงไหม้ขึ้นได้
  • สายไฟฟ้าของเตารีดห้ามใช้สายอ่อนธรรมดา เนื่องจากตัวเตารีดอาจไปถูกสายไฟฟ้าทำให้ฉนวน พีวีซี. ละลายเกิดกระแสไฟฟ้าลัดวงจรหรือผู้ใช้อาจถูกกระแสไฟฟ้าดูดได้ ให้เลือกใช้สายไฟเฉพาะของเตารีด ซึ่งเป็นสายที่มีฉนวน 2 ชั้น และชั้นนอกทนความร้อนได้
  • ขณะใช้เตารีด ผู้ใช้ควรยืนอยู่บนฉนวน เช่น แผ่นยาง หรือแผ่นไม้ตามความสะดวก ทั้งนี้เพื่อป้องกันไม่ให้กระแสไฟฟ้าดูดผู้ใช้ เนื่องจากกระแสไฟฟ้ารั่วที่ตัวเตารีด
  • ตรวจสอบว่ามีกระแสไฟฟ้ารั่วหรือไม่
เครื่องดูดฝุ่น
  • เต้าเสียบของเครื่องดูดฝุ่น ต้องไม่แตกร้าว และไม่มีรอยไหม้
  • สายไฟฟ้าของเครื่องดูดฝุ่นติดต่อกันเป็นเวลานานมาก(หลายชั่วโมง) เพราะเครื่องจะร้อนมากอาจเกิดกระแสไฟฟ้าลัดวงจร
    และอาจเกิดการลุกไหม้ขึ้นได้
  • หมั่นเทฝุ่นในถุงกรองทิ้ง จะช่วยให้เครื่องทำงานมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
เครื่องเป่าผมไฟฟ้า
  • เต้าเสียบของเครื่องเป่าผม ต้องไม่แตกร้าว และไม่มีรอยไหม้
  • สายไฟฟ้าของเครื่องเป่าผม ต้องไม่แตกเปื่อยยุ่ย
  • ใช้ไขควงเช็คไฟตรวจสอบส่วนที่เป็นโครงโลหะ หากพบว่าไฟฟ้ารั่วให้แก้ไขก่อนใช้งานต่อไป
เตาไฟฟ้า กะทะไฟฟ้า
  • ให้ตรวจสอบส่วนที่เป็นโลหะของเตาไฟฟ้าและกะทะไฟฟ้า โดยใช้ไขควงเช็คไฟ หากพบว่ามีไฟฟ้ารั่วก็ให้แก้ไข
  • สายไฟฟ้าของเตาไฟฟ้า กะทะไฟฟ้า ต้องไม่เสื่อมสภาพ หรือฉีกขาด แตก
  • เต้าเสียบ(ปลั๊กเสียบ) ของเตาไฟฟ้า กะทะไฟฟ้า ต้องไม่แตกร้าว และไม่มีรอยไหม้
  • เตาไฟฟ้า กะทะไฟฟ้า ต้องไม่วางอยู่บนพื้นที่ติดไฟและอยู่ใกล้สารไวไฟ
  • เมื่อเลิกใช้งาน ต้องถอดปลั๊กเสียบออกทุกครั้ง
  • ผู้ใช้เตาไฟฟ้า กะทะไฟฟ้า ควรยืนอยู่บนพื้นฉนวน เช่น แผ่นไม้แห้ง แผ่นยางแห้ง เพื่อป้องกันกระแสไฟฟ้าดูดเนื่องจากไฟฟ้ารั่ว
  • ควรระวังอย่าตั้งสิ่งหุงต้มบนเตาไฟฟ้า กะทะไฟฟ้า ทิ้งไว้นาน ไ เพราะอาจทำให้เกิดเพลิงไหม้ขึ้นได้

 สัญลักษณ์ทางไฟฟ้า                                                                                                                                                        
                       

       สัญลักษณ์ทางไฟฟ้า   หมายถึง  เครื่องหมายต่างๆ ที่มนุษย์เป็นผู้กำหนดขึ้นใช้สำหรับแทนอุปกรณ์ต่างๆ ทางไฟฟ้า ซึ่งเป็นที่เข้าใจ มีความหมายเป็นอันหนึ่งอันเดียว เป็นที่ยอมรับโดยสากล  ดังนี้




สัญลักษณ์
ภาพของจริง
ชื่อสัญลักษณ์
ทำหน้าที่
1.
ตัวนำ
สารหรือวัตถุที่ยอมให้กระแส ไฟฟ้าไหลผ่าน
2.
ตัวนำข้ามกัน (ไม่ต่อกัน)
กระแสไฟฟ้าไหลผ่าน
สายไฟคนละสาย
3.
ตัวนำต่อกัน
กระแสไฟฟ้าไหลผ่าน
จุดที่ต่อกันของสายไฟ
4.
สวิตช์
อุปกรณ์สำหรับเปิดและปิดวงจร
5.
ฟิวส์
อุปกรณ์ป้องกันกระแสเกิน
6.
คัตเอาต์ 
อุปกรณ์ไฟฟ้าที่ใช้ตัดกระแสที่ไหลผ่าน
7.
ไฟฟ้กระแสสลับหรือไฟ AC
จ่ายพลังงานไฟฟ้า
กระแสสลับ
8.
ไฟฟ้ากระแสตรงหรือไฟ DC
จ่ายพลังงานไฟฟ้า
กระแสไฟตรง
9.
เซลไฟฟ้า
จ่ายพลังงานไฟฟ้า
กระแสตรง
10.
แบตเตอรี่
จ่ายพลังงานไฟฟ้า
กระแสตรง
11.
หลอดไฟฟ้า
เปลี่ยนพลังงานไฟฟ้า
เป็นพลังงานแสง
(ให้แสงสว่าง)
12.
หลอดฟลูออเรสเซนต์
ให้แสงสว่าง
13.
สายอากาศ
ระบบรับ – ส่งสัญญาณ
หรือคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า
14.
กราวด์ (สายต่อลงดิน)
อุปกรณ์ไฟฟ้าถูกต่อ
ลงสู่พื้นดิน
15.
เต้าเสียบ (ปลั๊กตัวผู้)
อุปกรณ์ต่อใช้งานร่วมกับ
เต้ารับ
16.
ตัวต้านทาน
จำกัดการไหลของกระแส
17.
คอลย์หรือขดลวด
บนแกนอากาศ
เหนี่ยวนำแม่เหล็กไฟฟ้า
18.
บัลลาสต์
อุปกรณ์ที่ใช้จำกัดกระแสในหลอดฟลูออเรสเซนต์
19.
หม้อแปลง (Transformer)
อุปกรณ์เพิ่มหรือลดแรงดันกระแสสลับ
20
หม้อแปลงลง (Step down Transformer)
อุปกรณ์ลดแรงดันกระแสสลับ
21.
หม้อแปลงขึ้น (Step up  Transformer)
อุปกรณ์เพิ่มแรงดันกระแสสลับ
22.
โอห์มมิเตอร์
ใช้วัดค่าความต้านทานไฟฟ้า
23.
โวลต์มิเตอร์
ใช้วัดแรงดันไฟฟ้า
24.
แอมมิเตอร์
ใช้วัดกระแสไฟฟ้า
25.
มอเตอร์
เปลี่ยนพลังงานไฟฟ้า
เป็นพลังงานกล
26.
เครื่องกำเนิดไฟฟ้า
เปลี่ยนพลังงานกล
เป็นพลังงานไฟฟ้า
27.
โหลด
เครื่องใช้ไฟฟ้าเช่น  พัดลม  หลอดไฟฟ้า
28
สตาร์ตเตอร์
เป็นอุปกรณ์ที่ช่วยบัลลาสต์
ผลิตแรงดันให้สูงขึ้น เพื่อจุด
ไส้หลอดและตัดกระแส
เมื่อจุดไส้หลอดแล้ว