ความหมายและความสำคัญของงานไฟฟ้า
งานไฟฟ้า หมายถึง การปฏิบัติงานที่เกี่ยวกับไฟฟ้าในการสร้างหรือผลิต การซ่อมแซม การปรับปรุง การติดตั้งอุปกรณ์หรือวงจรไฟฟ้าด้วยความปลอดภัย พื่อสนองความต้องการของมนุษย์ในการดำรงชีวิตประจำวัน
งานไฟฟ้ามีความสำคัญต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ ดังนี้
1. งานไฟฟ้าใช้ในการสร้างเครื่องมือ เครื่องใช้ต่าง ๆ ที่ให้พลังงานความร้อน พลังงานแสงสว่าง พลังงานกล ที่มีความจำเป็นต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ในปัจจุบันเป็นอย่างยิ่ง เช่น เครื่องทำน้ำอุ่น เครื่องปรับอากาศ หลอดไส้ หลอดฟลูออเรสเซนต์ ลิฟต์ บันไดเลื่อน เป็นต้น2. งานไฟฟ้าช่วยพัฒนาระบบสื่อสาร คมนาคม ให้สะดวกเจริญก้าวหน้า เช่น วิทยุ โทรทัศน์ โทรศัพท์
รถไฟฟ้า เป็นต้น
3. งานไฟฟ้าช่วยพัฒนาระบบการผลิตสินค้าของโรงงานอุตสาหกรรม
ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับงานไฟฟ้า
ไฟฟ้า เป็นพลังงานชนิดหนึ่ง ที่เป็นส่วนประกอบอยู่ในวัตถุธาตุทุกชนิด ซึ่งประกอบด้วยอนุภาคขนาดเล็ก "อะตอม" แต่ละอะตอมจะประกอบด้วยโปรตอน นิวตรอน และอิเล็กตรอนอยู่มากมาย ที่เรียกว่าโดยที่โปรตอนกับนิวตรอนจะอยู่นิ่งไม่เคลื่อนที่ อิเล็กตรอนจะเคลื่อนที่จากอะตอมหนึ่งไปยังอีกอะตอมหนึ่งอย่างรวดเร็ว
การเคลื่อนที่นี้เรียกว่า "กระแสไฟฟ้า" ซึ่งมีอยู่ ๒ ชนิด คือ ไฟฟ้าสถิตและไฟฟ้ากระแส
ปัจจุบันความก้าวหน้าทางไฟฟ้ามีมากขึ้น ซึ่งถือได้ว่าเป็นการพัฒนาทางเทคโนโลยีเกี่ยวกับงานไฟฟ้า โดยเฉพาะทางด้านอิเล็กทรอนิกส์ และมีความสำคัญต่อการดำรงชีวิตประจำวันของมนุษย์เป็นอย่างมาก โดยการนำมาเป็นอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่อำนวยความสะดวกให้กับ มนุษย์ เช่น เครื่องใช้ไฟฟ้า โทรทัศน์ ตู้เย็น
พัดลม และแสงไฟที่ให้ความสว่างในเวลากลางคืนแทนการใช้เทียนหรือ ตะเกียง ระบบเครื่องจักรกลในโรงงานอุตสาหกรรม และระบบขนส่งมวลชนรถไฟฟ้า เป็นต้น จะเห็นได้ว่าความเจริญก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยีในปัจจุบันมีผลเกี่ยวข้องกับการดำเนินชีวิตและเศรษฐกิจ และสังคมเป็นอย่างมาก
การแบ่งชนิดของไฟฟ้า
ในปัจจุบันได้มีการนำไฟฟ้ากระแสตรงมาใช้ในชีวิตประจำวันอย่างแพร่หลาย ซึ่งไฟฟ้าสามารถเกิดขึ้นได้จากแหล่งกำเนิดหลาย ๆ แบบ ซึ่งสามารถจำแนกได้เป็น 2 แบบใหญ่ ๆ ดังนี้1) ไฟฟ้ากระแสตรง (Direct current หรือ D.C) เป็นกระแสไฟฟ้าที่มีทิศทางการไหลไปทางเดียวกัน โดยตลอดระยะทางที่วงจรกระแสไฟฟ้าปิด กระแสไฟฟ้าจะไหลจากชั้นบวกภายในแหล่งกำเนิด ผ่านจากขั้วบวกจะไหลผ่านตัวต้านทานหรือโหลด ผ่านตัวนำไฟฟ้า แล้วย้อนกลับเข้าแหล่งกำเนิดขั้วลบ วนเวียนไปในทางเดียวกันเช่นนี้ตลอดเวลา ดังเช่น ถ่านไฟฉาย ไดนาโม เป็นต้น
![]() |
หลักการของไฟฟ้ากระแสตรง |
คุณสมบัติของไฟฟ้ากระแสตรง
1. กระแสไฟฟ้าไหลไปทิศทางเดียวตลอดเวลา
2. มีค่าแรงดัน หรือ แรงเคลื่อนเป็นบวกอยู่เสมอ
3. สามารถเก็บประจุไว้ในเซลล์ หรือ แบตเตอรี่ได้
ประโยชน์ของไฟฟ้ากระแสตรง
1. ใช้ในการชุบโลหะต่าง ๆ
2. ใช้ในการทดลองสารเคมี
3. ใช้เชื่อมโลหะ หรือ ตัดเหล็ก
4. ทำให้เหล็กมีอำนาจแม่เหล็ก
5. ใช้ในการประจุกระแสไฟฟ้าในแบตเตอรี่
6. ใช้ในวงจรอิเล็กทรอนิกส์
7. ใช้เป็นไฟฟ้าเดินทาง เช่น ไฟฉาย
2) ไฟฟ้ากระแสสลับ (Allernating current หรือ A.C.) เป็นกระแสไฟฟ้าที่มีการไหลเวียนกลับมา ทั้งขนาดของกระแสไฟฟ้าและแรงดันไม่คงที่ จะเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอคือ กระแสไฟฟ้าจะไหลไปทางหนึ่งก่อนต่อมาจะไหลสวนกลับ และก็เริ่มไหลเหมือนครั้งแรก
กระแสไฟฟ้าจะไหลจากแหล่งกำเนิดไปตามลูกศรเส้นหนัก เริ่มจากศูนย์เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ จนถึงขีดสูงสุด
แล้วค่อย ๆ ลดลงมาที่ 0 อีก และจะไหลตามลูกศรเส้นประจุถึงขีดต่ำสุด แล้วเพิ่มขึ้นจนถึง 0 อีก แล้วกระแสไฟฟ้าจะไหลตามลูกศรเส้นหนักอีกเป็นเช่นนี้เรื่อย ๆ ไป (กระแสไฟฟ้า ไหลจากศูนย์ขึ้นบนถึงขีดสูงแล้วไหลลงล่างถึงขีดต่ำสุดแล้วไหลขึ้นถึงศูนย์หนึ่งครั้ง เท่ากับ 1 รอบ (Cycle) ความถี่ หมายถึง จำนวนลูกคลื่นไฟฟ้าสลับเปลี่ยนแปลงภายใน 1 วินาที ในประเทศไทยนิยมใช้กระแสไฟฟ้าที่มีความถี่ 50 เฮริตซ์ หรือ 50 รอบ ต่อ 1 วินาที
คุณสมบัติของไฟฟ้ากระแสสลับ คือ สามารถส่งไปที่ไกล ๆ ได้ดี กำลังไม่ตก และสามารถแปลงแรงดันให้สูงขึ้น ต่ำลงตามความต้องการด้วยหม้อแปลง
![]() |
หลักการของไฟฟ้ากระแสสลับ 1 เฟส |
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น