Translate

วันจันทร์ที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

อิทธิพลของอุณหภูมิที่มีต่อความต้านทาน


อิทธิพลของอุณหภูมิที่มีต่อความต้านทาน

การศึกษาความต้านทานของสารชนิดต่างๆ ที่กล่าวมานี้เป็นการศึกษากรณีที่อุณหภูมิคงตัวค่าหนึ่ง ถ้าอุณหภูมิของสารเปลี่ยนไป ความต้านทานจะเปลี่ยนไปหรือไม่อย่างไร จะได้ศึกษาโดยแยกพิจารณาตามประเภทของสารดังต่อไปนี้

ฉนวน เป็นสารที่มีสภาพต้านทานสูง ตัวอย่างของฉนวน ได้แก่ แก้ว ไมกา พีวีซี ยาง กระเบื้อง เป็นต้น การศึกษาสภาพต้านทานของฉนวนที่อุณหภูมิสูงๆ พบว่า สภาพต้านทานจะลดลงเล็กน้อย และถ้าฉนวนไปต่อกับความต่างศักย์ที่สูงมาก ฉนวนจะกลายเป็นตัวนำไฟฟ้าได้

สารกึ่งตัวนำ มีสภาพต้านทานอยู่ระหว่างตัวนำและฉนวน แต่มีค่าสูงกว่าสภาพต้านทานของตัวนำมาก เมื่ออุณหภูมิสูงขึ้น พบว่า สภาพต้านทานจะลดลงอย่างรวดเร็ว แสดงว่า การนำไฟฟ้าจะดีขึ้น ดังนั้นเครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีอุปกรณ์ประเภทสารกึ่งตัวนำประกอบอยู่ในวงจร จึงทำงานเป็นปกติเฉพาะช่วงอุณหภูมิที่กำหนดไว้

ตัวนำ เป็นสารที่มีสภาพต้านทานต่ำ เมื่อวัดความต้านทานของตัวนำที่เป็นโลหะบริสุทธิ์ เช่น แพลทินัม ทองแดง เงิน เป็นต้น ที่อุณหภูมิต่างๆ พบว่า โดยประมาณแล้ว ความต้านทานจะแปรผันตรงกับอุณหภูมิสัมบูรณ์ ความรู้นี้จึงนำไปใช้สร้างเทอร์มอมิเตอร์ชนิดความต้านทาน ส่วนตัวนำที่เป็นโลหะผสมบางชนิด พบว่า เมื่ออุณหภูมิเปลี่ยน ความต้านทานจะเปลี่ยนน้อยมาก ความรู้นี้นำไปใช้สร้างตัวต้านทานมาตราฐาน ซึ่งมีความต้านทานคงตัว เช่น ตัวต้านทานที่ทำด้วยแมงกานิน เป็นต้น

ตัวนำยิ่งยวด เมื่อ พ.ศ.2454 พบว่า นักฟิสิกส์ชาวเนเธอร์แลนด์ ชื่อ ออนเนส ได้ทดลองวัดความต้านทานขแงปรอทบริสุทธิ์ที่อุณหภูมิใกล้ศูนย์เคลวิน พบว่า ความต้านทานของปรอทลดลงเป็นศูนย์ที่อุณหภูมิ 4.2 เคลวิน อุณหภูมินี้เรียกว่า อุณหภูมิวิกฤต (critical temperature) ปรอทจะอยู่ในสภาวะที่เรียกว่า สภาพนำยิ่งยวด (
superconductivity) กล่าวคือ ปรอทจะมีสภาพต้านทานไฟฟ้าเป็นศูนย์หรือมีการนำไฟฟ้าดีที่สุด

 
กราฟแสดงอุณหภูมิวิกฤติของปรอท

ปัจจุบันนักฟิสิกส์ พบว่า โลหะผสม สารประกอบหลายชนิดและเซรามิกก็สามารถแสดงสภาพนำยวดยิ่งได้ที่อุณหภูมิต่างๆ กัน ดังตาราง วัสดุที่มีความต้านทานเป็นศูนย์หรืออยู่ในสภาพยวดยิ่ง เรียกว่า ตัวนำยวดยิ่ง (supercondector)

 
วัสดุ
อุญหภูมิวิกฤต (K)
วัสดุ
อุณหภูมิวิกฤต (K)
Zn
0.9
Nb3Ge
23.2
Al
1.2
YBa2Cu3O7
92
Pb
7.2
Bi-Sr-Ca-Cu-O
105
Nb
9.5
Ti-Ba-Ca-Cu-O
125


ความรู้เกี่ยวกับสภาพนำยิ่งยวดนำไปใช้สร้างอุปกรณ์ต่างๆ เช่น 

เครื่องเร่งอนุภาคกำลังสูง เป็นเครื่องมือสำหรับทำให้อนุภาคที่มีประจุไฟฟ้ามีพลังงานจลน์สูงมาก เพื่อใช้ในการวิจัยทางด้านฟิสิกส์นิวเคลียส์และฟิสิกส์อนุภาค ซึ่งมีหลักการ คือ ใช้สนามแม่เหล็กความเข้มสูง ที่เกิดจากกระแสไฟฟ้าในตัวนำยวดยิ่ง เมื่อเร่งอนุภาคที่มีประจุไฟฟ้าให้มีพลังงานสูง ต้องให้อนุภาคเคลื่อนที่เป็นวงกลมซ้ำๆ กัน การจะทำได้เช่นนี้ต้องใช้สนามแม่เหล็กที่มีความเข้มสูงมาก ถ้าลวดตัวนำธรรมดา การจะสร้างสนามแม่เหล็กความเข้มสูงต้องใช้กระแสไฟฟ้าสูง ลวดจะร้อนจนหลอมเหลว แต่ถ้าใช้ลวดที่ทำด้วยตัวนำยวดยิ่ง ซึ่งมีความต่างศักย์เป็นศูนย์ กระแสไฟฟ้าจะไม่ทำให้ลวดร้อนแต่ประการใด กระแสไฟฟ้าที่สูงจึงสามารถสร้างสนามแม่เหล็กความเข้มสูงได้

 
รถไฟแมกเลฟ ต้นแบบสร้างโดยสถาบันวิจัยรถไฟของญี่ปุ่น
รถไฟแมกเลฟ (Maglev : Magnetic Levitation Train) เป็นรถไฟอัตราเร็วสูง ขณะเคลื่อนที่ตัวรถจะลอยเหนือรางเล็กน้อย เนื่องจากสนามแม่เหล็กของรางและสนามแม่เหล็กของตัวรถที่ทำจากตัวนำยวดยิ่งผลักกัน ทำให้เกิดแรงยกตัวขึ้น รถจึงลอยเหนือรางเป็นการลดแรงเสียดทาน ที่มีผลทำให้รถไฟเคลื่อนที่ด้วยอัตราเร็วสูงถึง 513 กิโลเมตรต่อชั่วโมง

เนื่องจากอุณหภูมิวิกฤตของสารต่างๆ มีค่าต่ำมาก การทำให้สารแสดงสภาพนำยวดยิ่งจึงต้องใช้ฮีเลียมเหลว (ที่อุณหภูมิ -269 oC) ซึ่งมีราคาแพง ดังนั้น การนำด้วยตัวนำยวดยิ่งไปใช้ประโยชน์จึงไม่แพร่หลาย จนกระทั่ง พ.ศ.2530 นักฟิสิกส์ได้ค้นพบ ตัวนำยวดยิ่งอุณหภูมิสูง ซึ่งเป็นสารประกอบของอิตเทรียม (Y) แบเรียม (Ba) ทองแดง (Cu) และออกซิเจน (O) สารใหม่นี้เป็นตัวนำยวดยิ่งที่อุณหภูมิวิกฤตสูงถึง 90 เคลวิน จึงสามารถใช้ไนโตรเจนเหลว (ซึ่งมีอุณหภูมิ -196 oC หรือ 77 เคลวิน) ซึ่งมีราคาถูกกว่าแทนฮีเลียมเหลวได้ การค้นพบตัวนำยวดยิ่งอุณหภูมิสูงได้กระตุ้นให้มีการวิจัยและพัฒนาเพื่อนำตัวนำยิ่งยวดมาใช้ประโยชน์ให้กว้างมากขึ้น

ประเทศไทยมีนักฟิสิกส์ที่วิจัยเรื่องตัวนำยิ่งยวดทั้งด้านปฏิบัติและทฤษฎี นักฟิสิกส์ทฤษฎีไทยที่เป็นที่ยอมรับในวงการนานาชาติ คือศ.ดร.สุทัศน์ ยกส้าน

Sensor


แอลดีอาร์ (light dependent resistor, LDR)

แอลดีอาร์เป็นตัวต้านทานที่ความต้านทานขึ้นกับความสว่างของแสงที่ตกกระทบแอลดีอาร์มีความต้านทานสูงในที่มืด แต่มีความต้านทานต่ำในที่สว่างจึงเป็น ตัวรับรู้ความสว่าง (light sensor) ในวงจรอิเล็กทรอนิคส์สำหรับควบคุมการปิด-เปิดสวิตช์ด้วยแสง












เทอร์มีสเตอร์ (thermistor)

เทอร์มิสเตอร์เป็นตัวต้านทานที่ความต้านทานขึ้นอยู่กับอุณหภูมิของสภาพแวดล้อม เทอร์มีสเตอร์แบบ NTC (negative temperature coefficient) มีความต้านทานสูงเมื่ออุณหภูมิต่ำ แต่มีความต้านทานต่ำเมื่ออุณหภูมิสูง เทอร์มีสเตอร์จึงเป็น ตัวรับรู้อุณหภูมิ (temperature sensor) ในเทอร์มอมิเตอร์บางชนิด

 

เทอร์มีสเตอร์

กระแสไฟฟ้า


 กระแสไฟฟ้า

เมื่อนำอิเล็กโทรสโคปแผ่นโลหะสองชุดมาวางใกล้กัน ทำให้ชุดหนึ่งมีประจุไฟฟ้าโดยการเหนี่ยวนำและอีกชุดหนึ่งมีสภาพเป็นกลางทางไฟฟ้า (รูป ก.) แล้วนำลวดโลหะวางพาดบนจานโลหะทั้งสอง จะพบว่า แผ่นโลหะบางของอิเล็กโทรสโคปที่เป็นกลางกางออกเล็กน้อย ส่วนแผ่นโลหะบางของอิเล็กโทรสโคปที่มีประจุไฟฟ้าหุบลงเล็กน้อย (รูป ข.)
การกางของแผ่นโลหะบางของอิเล็กโทรสโคปทั้งสองเมื่อมีการถ่ายโอนประจุไฟฟ้า


การที่แผ่นโลหะบางกางออก แสดงว่า อิเล็กโทรสโคปซึ่งเดิมเป็นกลางมีประจุไฟฟ้าโดยรับประจุไฟฟ้าจากอิเล็กโทรสโคปที่มีประจุไฟฟ้าให้ผ่านทางลวดโลหะ เรียกการถ่ายโอนประจุไฟฟ้าผ่านลวดโลหะว่า กระแสไฟฟ้า (electric current) หรืออาจกล่าวได้ว่า เมื่อประจุไฟฟ้าเคลื่อนที่ในตัวนำ จะเกิดกระแสไฟฟ้าในตัวนำนั้น

การถ่ายโอนประจุไฟฟ้าข้างต้น เกิดขึ้นเพราะมีความต่างศักย์ระหว่างอิเล็กโทรสโคปทั้งสอง เพราะความต่างศักย์เกิดขึ้นในลวดโลหะในเวลาที่สั้นมาก จึงมีกระแสไฟฟ้าในช่วงสั้น ดังนั้น ถ้าต้องการให้มีกระแสไฟฟ้าเป็นเวลานาน จำเป็นต้องมีแหล่งพลังงานที่ทำให้กิดความต่างศักย์ระหว่างปลายของตัวนำตลอดเวลา แหล่งพลังงานนี้เรียกว่า แหล่งกำเนิดไฟฟ้า ได้แก่ เซลล์ไฟฟ้าเคมี เครื่องกำเนิดไฟฟ้า เซลล์สุริยะ และเซลล์เชื้อเพลิง เป็นต้น สิ่งมีชีวิตหลายชนิด เช่น ปลาไหลไฟฟ้า ปลาทะเลบางชนิดก็สามารถผลิตความต่างศักย์ได้เพื่อป้องกันตนเอง หรือจับเหยื่อมาเป็นอาหาร ปัจจุบันการประดิษบ์แหล่งกำเนิดไฟฟ้าที่มีรูปแบบและชนิดต่างๆ มากมาย เพื่อนำมาใช้ให้เหมาะสมกับงาน แหล่งกำเนิดไฟฟ้าที่คุ้นเคยมากที่สุดคือ เซลล์ไฟฟ้าเคมีที่เรียกว่า แบตเตอรี่
 
แหล่งกำเนิดไฟฟ้า

พลังงานแสงอาทิตย์


พลังงานแสงอาทิตย์ - การเปลี่ยนแสงอาทิตย์เป็นพลังงาน

พลังงานแสงอาทิตย์ถูกใช้งานอย่างมากแล้วในหลายส่วนของโลก และมีศักยภาพในการผลิตพลังงานมากกว่าการบริโภคพลังงานของโลกในปัจจุบันหลายเท่าหากใช้ประโยชน์อย่างเหมาะสม พลังงานแสงอาทิตย์สามารถใช้โดยตรงเพื่อผลิตไฟฟ้าหรือสำหรับทำความร้อน หรือแม้แต่ทำความเย็น ศักยภาพในอนาคตของพลังงานแสงอาทิตย์นั้นถูกจำกัดโดยแค่เพียงความเต็มใจของเราที่จะคว้าโอกาสนั้นไว้
มีวิธีการมากมายที่สามารถนำพลังงานจากแสงอาทิตย์มาใช้งานได้ พืชเปลี่ยนแสงอาทิตย์เป็นพลังงานทางเคมีโดยใช้การสังเคราะห์แสง เราใช้ประโยชน์จากพลังงานนี้โดยการกินพืชและเผาฟืน อย่างไรก็ตามคำว่า "พลังงานแสงอาทิตย์" หมายถึงการเปลี่ยนแสงอาทิตย์โดยตรงมากกว่าเปลี่ยนไปเป็นพลังงานความร้อนหรือพลังงานไฟฟ้าสำหรับใช้งาน ประเภทพื้นฐานของพลังงานแสงอาทิตย์ คือ "พลังความร้อนแสงอาทิตย์" และ "เซลล์แสงอาทิตย์"
บ้านพลังงานแสงอาทิตย์ในประเทศอังกฤษ พลังงานแสงอาทิตย์สามารถผลิตไฟฟ้าและน้ำร้อนเพื่อใช้ในประเทศได้
บ้านพลังงานแสงอาทิตย์ในประเทศอังกฤษ พลังงานแสงอาทิตย์สามารถผลิตไฟฟ้าและน้ำร้อนเพื่อใช้ในประเทศได้
เซลล์แสงอาทิตย์
กระบวนการของเซลล์แสงอาทิตย์คือการผลิตไฟฟ้าจากแสง ความลับของกระบวนการนี้คือการใช้สารกึ่งตัวนำที่สามารถปรับเปลี่ยนให้เหมาะสมเพื่อปล่อยประจุไฟฟ้า ซึ่งเป็นอนุภาคที่ถูกชาร์จที่ขั้วลบ สิ่งนี้เป็นพื้นฐานของไฟฟ้า
สารกึ่งตัวนำที่ใช้กันมากที่สุดในเซลล์แสงอาทิตย์คือซิลิกอน ซึ่งเป็นองค์ประกอบที่พบโดยทั่วไปในทราย เซลล์แสงอาทิตย์ทุกชิ้นมีสารกึ่งตัวนำดังกล่าว 2 ชั้น ชั้นหนึ่งถูกชาร์จที่ขั้วบวก อีกชั้นหนึ่งถูกชาร์จที่ขั้วลบ เมื่อแสงส่องมายังสารกึ่งตัวนำ สนามไฟฟ้าที่แล่นผ่านส่วนที่ 2 ชั้นนี้ตัดกันทำให้ไฟฟ้าลื่นไหล ทำให้เกิดกระแสไฟฟ้าสลับ ยิ่งแสงส่องแรงมากเท่าใด ไฟฟ้าก็ลื่นไหลมากขึ้นเท่านั้น
ดังนั้นระบบเซลล์แสงอาทิตย์จึงไม่ต้องการแสงอาทิตย์ที่สว่างในการปฏิบัติงาน นอกจากนี้ยังผลิตไฟฟ้าในวันเมฆมากได้ด้วยเนื่องจากผลิตไฟฟ้าได้สัดส่วนกับความหนาแน่นของเมฆ นอกจากนี้ วันที่มีเมฆน้อยยังผลิตพลังงานได้สูงขึ้นกว่าวันที่ท้องฟ้าแจ่มใสปราศจากเมฆ เนื่องจากแสงอาทิตย์สะท้อนมาจากเมฆ
เป็นเรื่องปกติในปัจจุบันที่จะใช้เซลล์แสงอาทิตย์ขนาดเล็กมากให้พลังงานให้กับอุปกรณ์ขนาดเล็ก เช่น เครื่องคิดเลข นอกจากนี้เซลล์แสงอาทิตย์ยังใช้เพื่อผลิตไฟฟ้าในพื้นที่ที่ไม่มีสายส่งไฟฟ้า เราได้พัฒนาตู้เย็นที่เรียกว่าความเย็นจากแสงอาทิตย์ (Solar Chill) ที่สามารถปฏิบัติงานโดยใช้พลังงานแสงอาทิตย์ หลังจากทดสอบแล้วจะถูกนำไปใช้ในองค์กรสิทธิมนุษยชนเพื่อช่วยให้บริการวัคซีนในพื้นที่ที่ไม่มีไฟฟ้า และจะถูกนำไปใช้โดยผู้ที่ไม่ต้องการพึ่งพาสายส่งไฟฟ้าเพื่อรักษาความเย็นของอาหาร
นอกจากนี้ สถาปนิกยังใช้เซลล์แสงอาทิตย์เพิ่มมากขึ้นโดยใช้เป็นคุณลักษณะสำคัญของการออกแบบ ตัวอย่างเช่น หลังคากระเบื้องหรือหินชนวนติดเซลล์แสงอาทิตย์สามารถใช้แทนวัสดุทำหลังคาที่ใช้กันทั่วไป ฟิล์มแบบบางที่ยืดหยุ่นสามารถนำไปประกอบเข้ากับหลังคารูปโค้งได้ ในขณะที่ฟิล์มกึ่งโปร่งแสงทำให้เกิดการผสมผสานแสงเงาเข้ากับแสงในตอนกลางวัน นอกจากนี้เซลล์แสงอาทิตย์ยังสามารถผลิตพลังงานสูงสุดให้กับอาคารในวันอากาศร้อนในฤดูร้อนเมื่อระบบปรับอากาศต้องใช้พลังงานมากที่สุด ดังนั้นจึงช่วยลดภาวะไฟฟ้าเพิ่มปริมาณขึ้นสูงสุด
เซลล์แสงอาทิตย์ทั้งขนาดใหญ่และเล็กสามารถผลิตพลังงานให้กับสายส่งไฟฟ้า หรือทำงานได้ด้วยตัวของมันเอง
โรงไฟฟ้าพลังความร้อนจากแสงอาทิตย์
ฟาร์มเซลล์แสงอาทิตย์ในแคลิฟอร์เนีย
ฟาร์มเซลล์แสงอาทิตย์ในแคลิฟอร์เนีย
กระจกขนาดใหญ่รวมแสงอาทิตย์ให้อยู่ในเส้นหรือจุดเดียว ความร้อนที่ถูกสร้างขึ้นนี้ใช้ผลิตไอน้ำ จากนั้นไอน้ำที่ร้อนและมีแรงดันสูงให้พลังงานกับใบพัด ซึ่งทำให้เกิดไฟฟ้า ในภูมิภาคที่แสงอาทิตย์ร้อนแรงมาก โรงไฟฟ้าพลังความร้อนจากแสงอาทิตย์สามารถรับประกันได้ว่าจะมีการแบ่งกันผลิตไฟฟ้าได้ปริมาณมากเท่าๆ กัน
จากความสามารถในการผลิตไฟฟ้าในปัจจุบันที่เพียง 354 เมกะวัตต์ โรงไฟฟ้าพลังความร้อนจากแสงอาทิตย์ที่มีความสามารถในการผลิตอยู่ตัวแล้วจะผลิตไฟฟ้าได้เกิน 5,000 เมกะวัตต์ ภายในพ.ศ. 2558 ตามที่ได้คาดการณ์ไว้ ความสามารถในการผลิตเพิ่มเติมจะเพิ่มขึ้นเกือบถึง 4,500 เมกะวัตต์ต่อปี ภายในพ.ศ. 2563 และพลังงานความร้อนจากแสงอาทิตย์ที่มีความสามารถในการผลิตอยู่ตัวแล้วทั่วโลกอาจเพิ่มขึ้นไปถึงเกือบ 30,000 เมกะวัตต์ ซึ่งมากพอที่จะจ่ายไฟฟ้าให้กับบ้าน 30 ล้านหลัง
การทำความร้อนและการทำความเย็นจากแสงอาทิตย์
การทำความร้อนจากแสงอาทิตย์ใช้ความร้อนจากดวงอาทิตย์โดยตรง ตัวสะสมความร้อนจากแสงอาทิตย์บนหลังคาของคุณสามารถผลิตน้ำร้อนสำหรับบ้านคุณได้ และช่วยให้ความร้อนแก่บ้านของคุณ ระบบความร้อนจากแสงอาทิตย์มีพื้นฐานอยู่บนหลักการง่ายๆ ที่รู้จักกันมาหลายศตวรรษ นั่นคือ ดวงอาทิตย์ทำความร้อนให้น้ำที่อยู่ในท่อทึบแสง ปัจจุบันเทคโนโลยีความร้อนจากแสงอาทิตย์ในตลาดมีประสิทธิภาพและน่าเชื่อถือสูง และผลิตพลังงานแสงอาทิตย์ให้กับอุปกรณ์จำนวนมาก ตั้งแต่น้ำร้อนและการทำความร้อนในอาคารพักอาศัยและอาคารพาณิชย์ ไปจนถึงการทำความร้อนในสระว่ายน้ำ การทำความเย็นโดยใช้แสงอาทิตย์ การทำความร้อนในกระบวนการอุตสาหกรรม และ การกำจัดความเค็มของน้ำดื่ม
การผลิตน้ำร้อนในครัวเรือนเป็นการใช้งานความร้อนจากแสงอาทิตย์ที่นิยมที่สุดในปัจจุบัน ในบางประเทศการผลิตน้ำร้อนเป็นเรื่องทั่วไปในอาคารพักอาศัย พลังงานแสงอาทิตย์สามารถตอบสนองความต้องการใช้น้ำร้อนได้เกือบถึง 100%  ขึ้นอยู่กับสภาพและการกำหนดองค์ประกอบของระบบ ระบบที่ใหญ่กว่าสามารถตอบสนองความต้องการพลังงานปริมาณมากสำหรับการทำความร้อนในสถานที่ เทคโนโลยีประเภทหลัก 2 ประเภท ได้แก่
ท่อสูญญากาศ - ตัวดูดซับข้างในท่อสูญญากาศดูดซับรังสีจากดวงอาทิตย์และทำความร้อนให้กับของเหลวข้างใน เหมือนกับตัวดูดซับในแผงเซลล์แสงอาทิตย์แบบแบน ตัวสะท้อนแสงด้านหลังท่อเป็นตัวดูดซับลำแสงเพิ่มเติม ไม่ว่าดวงอาทิตย์จะอยู่ในองศาใด ท่อสูญญากาศรูปทรงกลมจะช่วยให้แสงอาทิตย์เดินทางไปยังตัวดูดซับได้โดยตรง แม้แต่ในวันเมฆมากที่แสงเข้ามาในหลายองศาพร้อมกันแต่ตัวดูดสะสมแสงของท่อสูญญากาศก็ยังมีประสิทธิภาพมาก
ตัวสะสมแสงอาทิตย์ของแผงเซลล์แสงอาทิตย์แบบแบน - กล่าวง่ายๆ ตัวสะสมแสงเป็นกล่องที่มีฝาเป็นกระจก ที่ตั้งอยู่บนหลังคาเหมือนหน้าต่างบนหลังคา ในกล่องนี้มีชุดท่อทองแดงที่มีปีกทองแดงติดอยู่ โครงสร้างทั้งหมดถูกเคลือบด้วยสารสีดำที่ออกแบบมาเพื่อดูดลำแสงอาทิตย์ ลำแสงอาทิตย์เหล่านี้ทำให้น้ำร้อนขึ้น และป้องกันการเยือกแข็งของส่วนผสมที่ไหลเวียนจากตัวสะสมแสงลงไปยังเครื่องทำน้ำร้อนในห้องใต้ดิน
เครื่องทำความเย็นด้วยแสงอาทิตย์ - เครื่องทำความเย็นจากแสงอาทิตย์ใช้พลังงานความร้อนเพื่อผลิตความเย็น และ/หรือทำความชื้นให้กับอากาศในวิธีเดียวกับตู้เย็นและเครื่องปรับอากาศทั่วไป อุปกรณ์นี้เหมาะสมกับพลังงานความร้อนจากแสงอาทิตย์อย่างยิ่ง เนื่องจากความต้องการความเย็นมีมากที่สุดเมื่อมีแสงอาทิตย์ส่องมากที่สุด การทำความเย็นจากดวงอาทิตย์ได้รับการทดสอบการใช้งานอย่างประสบความสำเร็จมาแล้ว และในอนาคตคาดว่าจะมีการใช้งานในวงกว้าง เนื่องจากราคาของเทคโนโลยีนี้ถูกลง โดยเฉพาะราคาของระบบขนาดเล็ก

พลังงานลม เพื่อการผลิตไฟฟ้า


พลังงานลม เพื่อการผลิตไฟฟ้า
พลังงานลม เพื่อการผลิตไฟฟ้า

พลังงานลม

ลมเป็นปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ เกิดจากการที่พื้นที่บนโลกได้รับความร้องจากด้วงอาทิตย์ไม่เท่ากัน บริเวณที่มีอุณหภูมิสูงกว่าอากาศจะร้อน มีความหนาแน่นน้อย เกิดการขยายตัวและลอยตัวสูงขึ้น ขณะเดียวกันอากาศในบริเวณที่เย็นกว่า มีความหนาแน่นกว่า หนักกว่าจะเคลื่อนเข้ามาแทนที่ทำให้เกิดการไหลของอากาศหรือที่เรียกกันทั่วไปว่า กระแสลมนั้นเอง มนุษย์เราได้ใช้ประโยชน์จากพลังงานลมมานานหลายพันปี ในการอำนวยความสะดวกสบายแก่ชีวิต เช่น การแล่นเรือใบขนส่งสินค้าไปได้ไกลๆ การหมุนกังหันวิตน้ำ การหมุนโม่หินบทเมล็ดพืชให้เป็นแป้ง ในปัจจุบันมนุษย์จึงได้ให้ความสำคัญและนำมาใช้ประโยชน์มากขึ้น โดยการนำมาใช้ผลิตเป็นพลังงานที่สะอาดไม่ก่อให้เกิดอันตรายต่อสภาพแวดล้อมและสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้อย่างไม่รู้จักหมดสิ้น
เทคโนโลยีกังหันลม
กังหันลม เป็นอุปกรณ์ชนิดหนึ่งที่ใช้สกัดพลังงานจลน์ของกระแสลม และเปลี่ยนให้เป็นพลังงานกล  จากนั้นจึงนำพลังงานกลมาใช้ประโยชน์ เมื่อกระแสลมพัดผ่าน ใบกังหันจะเกิดการถ่ายทอดพลังงานจลน์ไปสู่ใบกังหัน ทำให้กังหันหมุนรอบแกน สามารถนำพลังงานจากการหมุนนี้ไปใช้งานได้
ชนิดของกังหันลม
จำแนกตามลักษณะแนวแกนหมุนของกังหันจะได้ 2 แบบ คือ
  1. กังหันลมแบบแกนแนวตั้ง (Vertical Axis Wind Turbine) เป็นกังหันลมที่มีแกนหมุนและใบพัดตั้งฉนากกับการเคลื่อนที่ของลในแนวราบ ซึ่งทำให้สามารถรับลมในแนวราบได้ทุกทิศทาง
  2. กังหันลมแบบแกนแนวนอน (Horizontal Axis Wind Turbine) เป็นกังหันลมที่มีแกนหมุนขนานกับทิศทางลม โดยมีใบพักเป็นตัวตั้งฉากรับแรงลม มีอุปกรณ์ควบคุมกังหันให้หันไปตามทิศทางของกระแสลม เรียกว่า หางเสือ และมีอุปกรณ์ป้องกันกังหันลมชำรุดหรือเสียหายขณะเกิดลมพัดแรง เช่น ลมพายุ
ส่วนประกอบสำคัญๆ ของกังหันลมเพื่อใช้ผลิตไฟฟ้า
  1. ใบพัด เป็นตัวรับพลังงานลมและเปลี่ยนให้เป็นพลังงานกล ยึดติดกับชุดแกนหมุน และส่งแรงจากแกนหมุนไปยังเพลาแกนหมุน
  2. เพลาแกนหมุน รับแรงจากแกนหมุนของใบพัดและส่งผ่านระบบเกียร์ เพื่อปรับเปลี่ยนความเร็วหมุนและขับเครื่องกำเนิดไฟฟ้า
  3. ระบบเกียร์ เป็นระบบปรับเปลี่ยนและควบคุมความเร็วในการหมุน ระหว่างเพลาแกนหมุนกับเพลาของเครื่องกำเนิดไฟฟ้า
  4. ระบบเกียร์ เป็นระบบปรับเปลี่ยนและควบคุมความเร็วในการหมุน ระหว่างเพลาหมุนของกังหัน เมื่อได้รับความเร็วลมเกินความสามารถของกังหันที่จะรับได้ และในระหว่างการซ่อมบำรุงรักษา
  5. เครื่องกำเนิดไฟฟ้า จะทำให้หน้าที่เปลี่ยนพลังงานกลเป็นพลังงานไฟฟ้า
  6. ระบบควบคุมไฟฟ้า ใช้ระบบคอมพิวเตอร์เป็นตัวควบคุมการทำงาน และจ่ายกระแสไฟฟ้าเข้าสู่ระบบ
  7. ห้องเครื่อง จะมีขนาดใหญ่แลชะมีความสำคัญต่อกังหันลม ใช้บรรจุระบบต่างๆ ของกังหันลม เช่น ระบบเกียร์ เครื่องกำเนิดไฟฟ้า ระบบเบรก และระบบควบคุม
  8. เครื่องวัดความเร็วลม เป็นตัวชี้ขนาดของความเร็วลม จะเชื่อมต่อสายสัญญาณเข้ากับระบบคอมพิวเตอร์
  9. เครื่องวัดทิศทางลม เป็นตัวชี้ทิศทางของลม จะเชื่อมต่อสายสัญญาณเข้ากับระบบคอมพิวเตอร์ เพื่อที่คอมพิวเตอร์จะได้ควบคุมกลไกอื่นๆ ได้ถูกต้อง
  10. แกนคอหมุนรับทิศทางลม เป็นตัวควบคุมการหมุนของห้องเครื่องเพื่อให้ใบพัดรับทิศทางลม โดยระบบอิเล็กทรอนิกส์ที่เชื่อมต่อให้มีความสัมพันธ์กับเครื่องวัดทิศทางลมที่อยู่ทางด้านบนของเครื่อง
  11. เสา เป็นตัวแบกรับส่วนที่เป็ฯตัวเครื่องที่อยู่ข้างบน และตั้งอยู่บนพื้นที่ที่ก่อสร้างอย่างถูกวิธีตามหลักวิศวกรรม
กังหันลมผลิตไฟฟ้าได้อย่างไร
                หลักการทำงานทั่วไปของกังหันลมผลิตไฟฟ้า เมื่อมีกระแสลมพัดมาปะทะกับใบพัดของกังหันลม กังหันลมจะทำหน้าที่เปลี่ยนพลังงานลมที่อยู่ในรูปแบบของพลังงานจลน์ไปเป็นพลังงานกล ใบพัดเกิดการหมุนแรงจากการหมุนของใบพัดนี้จะถูกส่งผ่านเพลาแกนหมุน ทำให้เฟืองขับเคลื่อนหรือเฟืองเกียร์ ที่ติดอยู่กับเพลาแกนหมุนๆ ตามไปด้วย เมื่อเฟืองขับเคลื่อนของกังหันลมเกิดการหมุน จะขับเคลื่อนให้เพลาแกนหมุนที่ต่อเชื่อมอยู่กับเครื่องกำเนินไฟฟ้าออกมา ปริมาณไฟฟ้าที่ผลิตได้จะขึ้นอยู่กับความเร็วของลม ความยายของใบพัด และสถานที่ที่ติดตั้งกังหันลม
กังหันลมผลิตไฟฟ้า
                กฟผ.ได้นำกังหันลมสำหรับใช้ผลิตไฟฟ้าติดตั้งอยู่ที่บริเวณแหลมพรหมเทพ จังหวัดภูเก็ต ใช้เป็นสถานที่ทดลองการผลิตไฟฟ้าจากกังหันลม มาตั้งแต่ปี พ.ศ.2526 โดยใช้ชื่อว่า “สถานีพลังงานทดแทนพรหมเทพ” ตั้งอยู่ทิศเหนือของแหลมพรหมเทพประมาณ 1 กิโลเมตร ซึ่งจุดดังกล่าวเป็นจุดที่ติดกับทะเล เป็นพื้นที่สูง ได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมถึง 2 ช่วง คือ ลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ มาจากทะเลอันดามัน และลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ เป็นตำแหน่งที่รับลมได้เกือบตลอดทั้งปี มีความเร็วลมเฉลี่ยตลอดปีประมาณ 5 เมตร ต่อวินาที
ระบบผลิตไฟฟ้าจากกังหันลมขนาดใหญ่ที่สุดของ กฟผ. บริเวณอ่างพักน้ำตอนบนเขื่อนลำตะคอง
                โรงไฟ้ฟ้ากังหันลมลำตะคอง เป็นหนึ่งในโครงการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน ตามแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย พ.ศ.2547-2558 (PDP 2004) ซึ่ง กฟผ.ได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 30 ตุลาคม 2550
                กฟผ.ได้ดำเนินโครงการระบบผลิตไฟฟ้าจากกังหันลม ขนาดกำลังผลิต 1.25 เมกะวัตต์ จำนวน 2 ชุด ที่บริเวณอ่างพักน้ำตอนบนของเขื่อนลำตะคอง ต.คลองไผ่ อ.สีคิ้ว จ.นครราชสีมา พบว่าที่บริเวณแห่งนี้มีศักยภาพพลังงานลมดีที่สุดแห่งหนึ่งของประเทศไทย มีลมพัดถึง 2 ช่วง คือ ช่วงฤดูลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ และลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ มีความเร็วลมเฉลี่ยทั้งปีประมาณ 5-6 เมตรต่อวินาที ซึ่งสามารถนำมาผลิตไฟฟ้าได้
ขอบคุณข้อมูลจาก :
นิตยสาร Green Technology & Innovation

การอ่านความต้านทานจากแถบสีบนตัวต้านทาน


การอ่านความต้านทานจากแถบสีบนตัวต้านทาน

พิจารณาวงจรที่ประกอบด้วยตัวต้านทานที่ทราบค่าแบตเตอรี่ และวัดกระแสไฟฟ้าในวงจรเปลี่ยนตัวต้านทานเป็นค่าอื่น บันทึกกระแสไฟฟ้าทุกครั้ง จะพบว่า เมื่อตัวต้านทานมีค่าเพิ่มขึ้น กระแสไฟฟ้าที่วัดได้มีค่าลดลง เราจึงสามารถกำหนดกระแสไฟฟ้าในวงจรได้โดยใช้ตัวต้านทานที่เหมาะสม หรือกล่าวได้ว่า ตัวต้านทานทำหน้าที่จำกัดค่าของกระแสไฟฟ้าในวงจร

 
โดยทั่วไป แถบสีบนตัวต้านทาน จะมี 4 แถบ แต่ละแถบสีใช้แทนตัวเลข มีความหมายดังนี้
แถบที่ 1 บอกเลขตัวแรก
แถบที่ 2 บอกเลขตัวที่สอง
แถบที่ 3 บอกเลขยกกำลังที่ต้องคุณกับเลขสองตัวแรก
แถบที่ 4 บอกความคลาดเคลื่อนเป็นร้อยละ
ตัวต้านทานซ้ายมือซึ่งมีแถบน้ำตาล เขียว ส้ม ทอง มีความต้านทาน ดังนี้ 15 x 103 โอห์ม และมีความคลาดเคลื่อน 5% หรือเท่ากับ 15 000 โอห์ม ± 750 โอห์ม หรือมีค่าระหว่าง 14 250 โอห์ม และ 17 750 โอห์ม
วงจรไฟฟ้าที่มีตัวต้านทาน

นอกจากนี้ยังมีตัวต้านทานที่เปลี่ยนค่าได้ เรียกว่า ตัวต้านทานแปรค่า (variable resistor) ตัวต้านทานแปรที่ใช้กันอยู่ทั่วไปประกอบด้วย แถบความต้านทานซึ่งอาจทำด้วยแกรไฟต์หรือลวดพันขา 1 ละ 3 และหน้าสัมผัสต่อกับขา 2 การปรับเปลี่ยนความต้านทานทำโดยการเลื่อนหน้าสัมผัสไปบนแถบความต้านทาน การนำตัวต้านทานแปรค่าไปใช้ควบคุมกระแสไฟฟ้าในวงจรทำได้โดยการต่อขา 1 หรือ ขา 3 ขาใดขาหนึ่งและขา 2 กับวงจร ดังรูป

 
ตัวต้านทานแปรค่า

เมื่อเลื่อนหน้าสัมผัสของตัวต้านทานแปรค่าในวงจร จากตำแหน่งที่ 1 ไปยังตำแหน่งที่ 3 ความต้านทานจะเพิ่มขึ้น ดังนั้น กระแสไฟฟ้าในวงจรจะลดลง ถ้าเลื่อนหน้าสัมผัสในทิศตรงข้าม ทำให้ความต้านทานลดลงและกระแสไฟฟ้าจะสูงขึ้น ตัวต้านทานแปรค่าที่ทำหน้าที่ควบคุมกระแสไฟฟ้าในวงจร เรียกว่า ตัวควบคุมกระแส

 
การเลื่อนปุ่มบนตัวต้านทานปรับค่าได้ไปทางขวาทำให้ความยาวของลวดความต้านทานเพิ่มขึ้น กระแสไฟฟ้าในวงจรจะลดลงและหลอดไฟจะหรี่

ตัวต้านทานแปรค่านิยมใช้ควบคุมกระแสไฟฟ้า วงจรในรูปใช้ตัวต้านแปรค่าควบคุมความสว่างของหลอดไฟ และใช้ความดังของเสียงในเครื่องเสียงต่างๆ นอกจากนี้ยังใช้เป็นส่วนประกอบสำคัญของเครื่องวัดบางชนิด เช่น โอห์มมิเตอร์และเครื่องวัดปริมาณน้ำมันในรถยนต์ เป็นต้น

วันอาทิตย์ที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

หม้อแปลงไฟฟ้า


หม้อแปลงไฟฟ้า




การตรวจสอบหม้อแปลงไฟฟ้า



การวิเคราะห์เครือข่ายสำหรับการวงจรไฟฟ้า


การวิเคราะห์เครือข่ายสำหรับการวงจรไฟฟ้า

การวิเคราะห์เครือข่ายสำหรับ วงจรไฟฟ้า เป็นเทคนิคที่เป็นประโยชน์ที่แตกต่างกันหลายที่เกี่ยวข้องกับ กระแส , emfs และ ความต้านทาน แรงดันไฟฟ้าในวงจรดังกล่าว นี้จะค่อนข้างเก็บของเทคนิคในการหาแรงดันไฟฟ้าและกระแสในส่วนของเครือข่ายทุก บางส่วนของเทคนิคเหล่านี้จะกล่าวถึงแล้วในการกวดวิชาออนไลน์นี้ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า
มีหกเทคนิคที่เป็นประโยชน์ที่เหลืออยู่ที่เราจะเรียนรู้ ตัวอย่างในทางปฏิบัติของการวิเคราะห์แต่ละคนจะได้รับในการโพสต์ต่อไปของฉัน นี้เหมาะสำหรับคุณที่จะเข้าใจสิ่งที่ทฤษฎีแรกนั้นเกี่ยวกับ ดังนั้นขอเริ่มต้นเทคนิคที่มีประโยชน์ในการวิเคราะห์ครั้งแรกเครือข่าย

ทฤษฎีบท thevenin ของ

พิจารณารูปด้านล่างซึ่งแสดงให้เห็นถึงแผนผังเครือข่ายสองขั้วของค่าคงที่ของแรงดันไฟฟ้าและความต้านทาน; โวลต์มิเตอร์ความต้านทานสูงเชื่อมต่อไปยังปลายทางที่สามารถเข้าถึงได้จะบ่งบอกถึงวงจรไฟฟ้าแรงที่เรียกว่าเปิดวี oc ถ้าแอมป์มิเตอร์ความต้านทานต่ำมาก-เชื่อมต่อไปที่ขั้วเดียวกันในขณะที่มะเดื่อ. (ข) ซึ่งจะเรียกว่าลัดวงจรปัจจุบันผม sc จะมีการวัด

ทดสอบวงจรสำหรับทฤษฎีบทเทเวอแน็ของ
ตอนนี้ทั้งสองกำหนดปริมาณดังกล่าวอาจถูกนำมาใช้เพื่อเป็นตัวแทนของเครือข่ายง่ายเทียบเท่าประกอบด้วยความต้านทาน R เดียว TH, ซึ่งเท่ากับวี oc / i sc ถ้าตัวต้านทาน R L เชื่อมต่อกับสองขั้วในปัจจุบันโหลดของวงจรจะ

ผม L v = oc / R + R TH L ---------------> สม no.1

ที่นำไปสู่การวิเคราะห์สม no.1 ข้างต้นถูกเสนอครั้งแรกโดย ML เทเวอแน็ส่วนหลังของศตวรรษที่สิบเก้าและได้รับการยอมรับว่าเป็นหลักการที่สำคัญในทฤษฎีวงจรไฟฟ้า ทฤษฎีของเขาเป็นที่รับรู้ดังนี้ในทุกเครือข่ายสองขั้วของความต้านทานคงที่และแหล่งที่มาคงที่ของแรงดันไฟฟ้าในปัจจุบันในการต้านทานโหลดที่เชื่อมต่อกับขั้วเอาท์พุทเท่ากับปัจจุบันที่จะอยู่ในการต้านทานเดียวกันถ้ามันถูกเชื่อมต่อใน ชุดที่มี () EMF ง่ายซึ่งแรงดันไฟฟ้าเป็นวัดที่เปิด circuited ขั้วเครือข่ายและ (ข) ความต้านทานที่มีขนาดง่ายเป็นเครือข่ายหันกลับมามองจากสองขั้วเป็นเครือข่ายที่มีแหล่งที่มาของแรงดันไฟฟ้าของพวกเขาถูกแทนที่ด้วย ความต้านทานภายใน

ทฤษฎีบท thevenin ได้รับนำไปใช้กับโซลูชั่นเครือข่ายหลายที่มากง่ายคำนวณเช่นเดียวกับลดจำนวน computations

ทฤษฎีบทนอร์ตัน

จากกระทู้ก่อนข้างต้นก็เป็นที่รู้กันว่าวิธีการแก้ไขบางส่วนของเทเวอแน็เป็นสูตร วิธีนี้แก้ไขคือการแปลงเครือข่ายเดิมเป็นวงจรที่เรียบง่ายในการที่คู่ขนานของการรวมกันแหล่งที่มาคงที่ในปัจจุบันและความต้านทานมอง-back "ฟีด" ทานโหลด. ดูรูปด้านล่างเมื่อ


วงจรสมมูลของนอร์ตัน
จะทราบว่าทฤษฎีนอร์ตันยังทำให้การใช้งานของความต้านทานมองย้อนกลับไปสู่เครือข่ายจากขั้วความต้านทานโหลดกับแหล่งที่มีศักยภาพทั้งหมดถูกแทนที่ด้วยตัวนำศูนย์ความต้านทาน นอกจากนี้ยังมีพนักงานที่มาปลอมที่มาพร้อมกับกระแสคงที่ซึ่งมีค่าเท่ากับปัจจุบันที่จะผ่านเข้าไปในวงจรสั้นเชื่อมต่อข้ามขั้วเอาท์พุทของวงจรเดิม

จากมะเดื่อ (ข) ข้างต้นของวงจรเทียบเท่านอร์ตัน, โหลดปัจจุบันจะ

ผม L = I n R N / R N + R L ---------------> no.2 สม

ทฤษฎีบทซ้อน

ทฤษฎีบทเช่นนี้ในเครือข่ายของตัวต้านทานที่เป็น energized สองคนหรือมากกว่าแหล่งที่มาของแรงดันไฟฟ้า, () ปัจจุบันในการต้านทานใด ๆ หรือ (ข) แรงดันตกคร่อมตัวต้านทานใด ๆ จะมีค่าเท่ากับ (a) รวมพีชคณิตของ กระแสแยกในการต้านทานหรือ (ข) แรงดันไฟฟ้าที่คร่อมตัวต้านทานสมมติว่าแหล่งที่มาของแรงดันไฟฟ้าแต่ละซึ่งเป็นอิสระของคนอื่น ๆ ถูกนำไปใช้ในการเปิดแยกขณะที่คนอื่นจะถูกแทนที่ด้วยค่าของพวกเขานั้นภายในของความต้านทาน

ทฤษฎีบทนี้เป็นตัวอย่างในวงจรที่กำหนดด้านล่าง:

ภาพประกอบของทฤษฎีบทการทับซ้อน
วงจรเดิมข้างต้น (ส่วนด้านซ้าย) มีแหล่งที่มาและแรงดันไฟฟ้าที่มาในปัจจุบัน หากคุณต้องการที่จะได้รับในปัจจุบันผมซึ่งเท่ากับผลรวมของฉัน + I "โดยใช้ทฤษฎีบทซ้อนเราต้องทำตามขั้นตอนดังต่อไปนี้:

แทนที่ปัจจุบันแหล่ง I O โดยเปิดวงจร ดังนั้นแรงดันไฟฟ้าที่มา V o จะทำหน้าที่อย่างเป็นอิสระมีผมปัจจุบันเป็นค่าแรกที่ได้รับเมื่อวงจรคำนวณ

 แทนที่ EMF แหล่ง V o โดยลัดวงจร เวลาที่ฉันคนนี้ O จะทำหน้าที่ได้อย่างอิสระและฉัน "ตอนนี้จะได้รับเมื่อวงจรคำนวณ

 สองค่าที่ได้รับ (ฉันและฉัน ") กับแรงดันไฟฟ้าและแหล่งที่มาปัจจุบันเป็นอิสระจะถูกเพิ่มที่จะได้รับ i = i '+ I"

ห่วงการวิเคราะห์ของ Maxwell (ตาข่าย)

วิธีการที่เกี่ยวข้องกับการตั้งค่าของกระแสวงอิสระได้รับมอบหมายให้เป็นตาข่ายมากที่สุดเท่าที่มีอยู่ในวงจรและกระแสเหล่านี้ถูกว่าจ้างในการเชื่อมต่อกับความต้านทานที่เหมาะสมเมื่อ Kirchhoff สมกฎหมายแรงดันไฟฟ้ามีเขียน ลองดูในวงจรที่กำหนดด้านล่าง

วงจรที่กำหนดจะสามารถวิเคราะห์โดยใช้วิธีการตาข่าย
วงจรดังกล่าวข้างต้นมีสองแรงดันแหล่ง V1 และ V2 มีการเชื่อมต่อกับเครือข่ายห้าต้านทานซึ่งมีสองกระแส I1 และห่วง i2 สังเกตว่าพวกเขาจะแสดงกำกับเข็มประชุมที่ถูกนำมาใช้โดยทั่วไปเพื่อความสะดวก แรงดันไฟฟ้ากฎหมาย Kirchhoff ต่อไปนี้อาจถูกเขียนเป็น:

-V1 + i1R1 R3 + (i1-i2) + i1R2 = 0 (วง 1)
-V2 + + R3 i2R5 (i2-I1) + i2R4 = 0 (2 วง)

คุณอาจลดความซับซ้อนของสมการโดยใช้พีชคณิตง่าย นี้จะอธิบายได้ดีบนโพสต์ต่อไปของฉันสำหรับตัวอย่างการปฏิบัติมากขึ้นจากการวิเคราะห์เครือข่าย

การวิเคราะห์สำคัญ

สำหรับการวิเคราะห์นี้แยกทุกคนในเครือข่ายที่แสดงถึงการเชื่อมต่อของสามหรือมากกว่าสาขาได้รับการยกย่องเป็นโหนด พิจารณาหนึ่งโหนดเป็นข้อมูลอ้างอิงหรือจุดศูนย์ที่มีศักยภาพสมปัจจุบันจะเขียนแล้วสำหรับ junctions เหลือจึงแก้ปัญหาเป็นไปได้ด้วย n-1 สมที่ n คือจำนวนของต่อมน้ำ

มีสามขั้นตอนพื้นฐานที่จะปฏิบัติตามเมื่อใช้การวิเคราะห์สำคัญ

ป้ายแรงดันไฟฟ้าที่โหนดด้วยความเคารพกับพื้น
 สมัคร KCL กับแต่ละโหนดในแง่ของแรงดันไฟฟ้าที่โหนด
 แรงดันไฟฟ้าที่กำหนดโหนดที่ไม่รู้จักโดยการแก้สมการพร้อมกันจากขั้นตอน b

ลองดูในภาพรวมเกี่ยวกับวิธีการวิเคราะห์สำคัญจะถูกดำเนินการ นี้คือภาพประกอบโดยสตีเฟ่นเม็นเดส ไม่ต้องกังวลฉันจะให้คุณโพสต์เทคนิคต่อไปของฉันเกี่ยวกับวิธีการแก้ปัญหาการวิเคราะห์สำคัญ

หมายเหตุ: ในภาพรวมด้านล่างเขาใช้ conductance ซึ่งเป็น G = 1 / ร.


Snapshot วิเคราะห์ย่าน

กฎหมายสำหรับวิศวกร


กฎหมายสำหรับวิศวกร
กฎหมายเกี่ยวกับวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม
"วิชาชีพวิศวกรรม" หมายความว่า วิชาชีพวิศวกรรม ในสาขาวิศวกรรมโยธาวิศวกรรมเหมืองแร่ วิศวกรรมเครื่องกล วิศวกรรม ไฟฟ้า วิศวกรรมอุตสาหการ และสาขาวิศวกรรมอื่น ๆ ที่กำหนดในกฎกระทรวง"วิชาชีพวิศวกรรมควบคุม" หมายความว่า วิชาชีพวิศวกรรมที่กำหนดในกฎกระทรวง
ใบอนุญาตการประกอบวิชาชีพวิศวกรรม
1. วุฒิวิศวกร
2. สามัญวิศวกร
3. ภาคีวิศวกร
4. ภาคีวิศวกรพิเศษ
การยื่นขอใบอนุญาตวิชาชีพภาคีวิศวกร
1.หลักฐานแสดงผลการศึกษา(Transcript)
2.สำเนาปริญญาบัตรหรือหนังสือรับรองการสำเร็จการศึกษา
3.สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนหรือสำเนาทะเบียนบ้าน
4.รูปถ่ายปัจจุบันไม่เกิน1ปีหน้าตรงไม่สวมหมวกไม่สวมแว่นดำขนาด 1 นิ้วจำนวน2รูป
5.ใบรับรองแพทย์
6.ใบรับรองคุณสมบัติ
สถานที่
สภาวิศวกร 487 อาคาร ว.ส.ท. ชั้น2 ซอย รามคำแหง 39 (เทพลีลา) แขวงวังทองหลาง
เขตวังทองหลาง กรุงเทพฯ 10310 โทรศัพท์ 0-2935-6868
จรรยาบรรณในการประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม
1) ไม่กระทำการใดๆ อันอาจนำมาซึ่งความเสื่อมเสียเกียรติศักดิ์แห่งวิชาชีพ
2) ต้องประกอบวิชาชีพวิศวกรรมความคุมด้วยความซื่อสัตย์สุจริต
3) ไม่ใช้อำนาจหน้าที่โดยไม่ชอบธรรม หรือใช้อิทธิพล หรือให้ประโยชน์แก่บุคคลใดเพื่อให้ตนเองหรือผู้อื่น      ได้รับงาน หรือไม่ได้รับงาน
4) ไม่เรียกรับหรือยอมรับทรัพย์สิน หรือผลประโยชน์อย่างใดสำหรับตนเองหรือผู้อื่น โดยมิชอบจากผู้รับเหมา      หรือบุคคลซึ่งเกี่ยวข้องในงานที่ทำอยู่กับผู้ว่าจ้าง
5) ไม่โฆษณาหรือยอมให้ผู้อื่นโฆษณา ซึ่งการประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม เว้นแต่การแสดงชื่อ คุณวุฒิที่อยู่      หรือสำนักงานของผู้นั้น
6) ไม่ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม เกินความสามารถที่ตนเองจะกระทำได้
7) ไม่ละทิ้งงานที่ได้รับทำโดยไม่มีเหตุผลอันสมควร
8) ไม่ลงลายมือชื่อเป็นผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมในงานที่ตนไม่ได้รับทำตรวจสอบหรือควบคุมด้วยตนเอง
9) ไม่เปิดเผยความลับของงานที่ตนได้รับทำเว้นแต่ได้รับอนุญาตจากผู้ว่าจ้าง
10) ไม่แย่งงานจากผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมอื่น
11) ไม่รับทำงานหรือตรวจสอบงานชิ้นเดียวกันกับผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมอื่นทำอยู่เว้นแต่เป็นการทำงาน        หรือตรวจสอบตามหน้าที่หรือได้แจ้งให้ผู้ประกอบวิชาชีพ วิศวกรรมควบคุมอื่นนั้นทราบล่วงหน้าแล้ว
12) ไม่รับดำเนินงานชิ้นเดียวกันให้แก่ผู้ว่าจ้างรายอื่นเพื่อเป็นการแข่งขันราคา เว้นแต่ได้จ้างให้ผู้ว่าจ้างรายแรก        ทราบล่วงหน้า เป็นลายลักษณ์อักษร หรือ ได้รับความยินยอมเป็นลายลักษณ์อักษรจากผู้ว่าจางรายแรก และ       ได้แจ้งให้ผู้ว่ารายอื่น นั้นทราบล่วงหน้าแล้ว
13) ไม่ให้หรือคัดลอกรูปแผนผังหรือเอกสารที่เกี่ยวกับงานของผู้ประกอบวิชาชีพ วิศวกรรมควบคุมอื่น        เว้นแต่ได้รับอนุญาตจากผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมอื่นนั้น
14) ไม่กระทำการใดๆ โดยจงใจให้เป็นที่เสื่อมเสียแก่ชื่อเสียงหรืองานของ ผู้ประกอบวิชาชีพ วิศวกรรมควบคุมอื่น
อำนาจวินิจฉัยของคระกรรมการจรรยาบรรณ
(1) ยกข้อกล่าวหา
(2) ตักเตือน
(3) ภาคทัณฑ์
(4) พักใช้ใบอนุญาตมีกำหนดเวลา
(5) เพิกถอนใบอนุญาต
บทกำหนดโทษ
1. ใช้คำหรือข้อความให้ผู้อื่นเข้าใจว่าตนเป็นผู้มีความรู้ความชำนาญใน การประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม หรือไม่มีวุฒิบัตร หรือหนังสืออนุมัติเป็น ผู้มีความรู้ความชำนาญจากสภาวิศวกรหรือสถาบันที่สภาวิศวกรรับรอง หรือ ไม่ได้เป็นผู้ได้รับใบอนุญาต  
        โทษ >> ระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
2. ถ้าประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมโดยไม่มีใบอนุญาต หรือประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม ในระหว่าง ถูกสั่งพักใบอนุญาต(ม.63)
        โทษ >>  ระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปีหรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาทหรือทั้งจำทั้งปรับและกรณีกระทำผิด                            ระหว่างการถูกสั่งพัก ใบอนุญาตอาจจะต้องถูกเพิกถอนใบอนุญาต   
3.ไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของคณะกรรมการจรรยาบรรณ หรือคณะอนุกรรมการตามมาตรา 59 หรือเจ้าพนักงาน ตามมาตรา 67
         โทษ >> ระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

โรงจักรและสถานีไฟฟ้าย่อย


โรงจักรและสถานีไฟฟ้าย่อย         โครงสร้างของระบบไฟฟ้ากำลัง ไม่ว่าจะเป็นระบบเล็กหรือระบบใหญ่จะถูกแบ่งย่อยออก  เป็น 3 ระบบย่อย  ที่ี่สำคัญ มีดังนี้

                     1. ระบบผลิตกำลังไฟฟ้า

                     2. ระบบส่งกำลังไฟฟ้า
 
                     3. ระบบจำหน่ายกำลังไฟฟ้า
ลักษณะการจ่ายพลังงานไฟฟ้าของสถานี
power_sub

หน้าที่และวัตถุประสงค์ของสถานีไฟฟ้า

     1. เป็นจุดเปลี่ยนระดับแรงดันไฟฟ้า
     2. เป็นจุดปรับระดับแรงดันในระบบให้คงที่ก่อนส่งไปยังระบบอื่น
     3. เป็นจุดเชื่อมระหว่างระบบสายส่ง กับ ระบบจำหน่ายไฟฟ้าเข้าด้วยกัน และ นำพลังงาน
         
เข้าหรือ ออกจากระบบ เช่นระบบสายส่ง (ระบบ 115 เควี.) กับระบบจำหน่ายแรงสูง
        (ระบบ 22 , 33 kV ) เป็นต้น
     4. เป็นจุดติดตั้งเครื่องมือวัด เพื่อวัดปริมาณทางไฟฟ้า
     5. เป็นจุดติดตั้งอุปกรณ์ตัดตอน, อุปกรณ์ควบคุมและอุปกรณ์ป้องกัน
     6. เป็นจุดเชื่อมโยงระบบสื่อสาร



     ระบบส่งกำลังไฟฟ้ามี 3 ระบบ คือ

   - ไฟฟ้าแรงสูง (High Voltage : HV) มีระดับแรงดันไฟฟ้าไม่เกิน 230 kV.
   - ไฟฟ้าแรงสูงเอกซ์ตรา(Extra High Voltage : EHV)มีระดับแรงดันไฟฟ้าตั้งแต่ 230 kV-1,000 kV
   - ไฟฟ้าแรงสูงอัลตรา (Ultra High Voltage : UHV) มีระดับแรงดันไฟฟ้าตั้งแต่ 1,000  kV.ขึ้นไป



     ความมุ่งหมายหลักของระบบส่งกำลังไฟฟ้า

     - เพื่อการส่งผ่านกำลังไฟฟ้าจากแหล่งผลิตไปยังผู้ใช้หรือแหล่งจ่ายไฟ
     - เพื่อส่งกำลังไฟฟ้าไปยังศูนย์กลางการจ่ายโหลด
     - เพื่อเชื่อมโยงระบบส่งกำลังไฟฟ้าเข้าด้วยกัน เพื่อเพิ่มความเชื่อถือได้ (Reliability)
       และลดความสูญเสียในระบบไฟฟ้า

Hihg Volt Substaion 115 kV
sub_115kV

sub_outdoor
Hihg Volt Substaion indoor
sub indoor

การส่งจ่ายกำลังไฟฟ้า ( Transmittion line )


การส่งจ่ายกำลังไฟฟ้า ( Transmittion line )
การคำนวณหาความสัมพันธ์ระหว่างกระแส และ แรงดันในสายส่งกำลังไฟฟ้า
บทนำ
      การหาความสัมพันธ์ระหว่างกระแสและแรงดันไฟฟ้า  ระหว่างปลายสายทั้ง 2 ข้างของสายส่งสามารถกระทำได้  โดยใช้วงจรเทียบเคียงของสายส่งต่อเฟสในการวิเคราะห์หาค่าดังกล่าว  โดยวงจรเทียบเคียงจะใช้แทน สายส่ง ที่ระยะต่างๆกัน 3 ระยะ คือ สายส่งระยะสั้น , ปานกลาง และ ระยะยาว ซึ่งประกอบด้วย พารามิเตอร์( G ) , รีซีสเตอร์ ( R ) , คาปาซิเตอร์( C ) และ คอนดักแตนซ์( L ) โดยเฉพาะค่า คาปาซิแตนซ์ นั้นจะวิเคราะห์ในรูป  ซัสเซปแตนซ์  ( jBC )  ส่วน อินดักแตนซ์  จะวิเคราะห์ในรูปรีแอกแตนซ์ ( jXL )นิวทรัลบัส

รูปที่  5.1 วงจรเทียบเคียงของสายส่งกำลังไฟฟ้า
              วงจรเทียบเคียงตามรูปที่ 5.1 อาจเรียกว่า วงจรเทียบเคียงพารามิเตอร์แบบกระจาย และพึงตระหนักไว้ว่า การวิเคราะห์วงจรสายส่งทั้ง 3 ระยะ จะใช้วงจรเทียบเคียงต่างกันไปด้วย อักษรและสัญลักษณ์ที่ใช้แทน  เพื่อสื่อ ความสัมพันธ์ระหว่างกระแสและแรงดันไฟฟ้ามีดังต่อไปนี้

VS    คือ  แรงดันไฟฟ้า ต้นทางของสายส่งต่อเฟส
VR    คือ  แรงดันไฟฟ้า ปลายทางของสายส่งต่อเฟส
IS     คือ  กระแสไฟฟ้า ต้นทางของสายส่ง
IR    คือ  กระแสไฟฟ้า ปลายทางของสายส่ง
l       คือ  ความยาวของวงจรสายส่ง
r      คือ  ค่าความต้านทานต่อหน่วยความยาวต่อเฟส
xl    คือ  รีแอคแตนซ์ต่อหน่วยความยาวต่อเฟส
R =  rl      คือ  ค่าความต้านทานของสายส่งตลอดความยาวต่อเฟส
x =  xl.l    คือ รีแอคแตนซ์ของสายส่งตลอดความยาวต่อเฟส
z  =  r+jxl.l     คือ  อิมพีแดนซ์ต่อหน่วยความยาวต่อเฟส
Z  =  zl  =  rl+jxl.l  =     คือ  อิมพีแดนซ์ของสายส่งตลอดความยาวต่อเฟส
y      คือ  แอดมิตแตนซ์ต่อหน่วยความยาวต่อเฟสถึงนิวทรัล
Y  =  yl    คือ  แอดมิตแตนซ์ของสายส่งตลอดความยาวต่อเฟสถึงนิวทรัล
Pf     คือ  เพาเวอร์เฟกเตอร์  (Power fecter )
สายส่งกำลังไฟฟ้าระยะสั้น
สายส่งกำลังไฟฟ้าระยะสั้นจะมีระยะทางส่งจ่ายไม่เกิน  80  ก.ม. ( ประมาณ  50  ไมล์ )  ซึ่งจะมี
ค่า คาปาซิเตอร์ ชาร์จไปถึงจุดนิวทรัลหรือชาร์จไประหว่างสายต่ำมาก จึงทำให้ค่าคาปาซิทีฟ รีแอกแตนซ์ ( - jxC ) มีค่าสูง กระแสชาร์จที่ผ่านค่า คาปาซิแตนซ์จึงมีค่าเล็กน้อย  ทำให้มีผลต่อระบบน้อยมากจึงไม่นำมาคิด
 
                ส่วนค่าคอนดักแตนซ์ (G ) มีค่าเล็กน้อยก็ไม่นำมาคิดเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นสายส่งระยะสั้น , ระยะปานกลาง  หรือ ระยะยาว ดังนั้น  วงจรเทียบเคียงของสายส่งระยะสั้นแบบสมบรูณ์จึงเขียนได้ดังนี้
 รูปที่ 5.2 วงจรเทียบเคียงของสายส่งระยะสั้นแบบสมบรูณ์ ส่งผ่านแรงดันไฟฟ้าให้แก่โหลด
                 สมบรูณ์แบบสตาร์โหลด
สำหรับการวิเคราะห์ค่าทางไฟฟ้าในวงจรสายส่งระยะสั้นจะใช้วงจรเทียบเคียง ต่อ เฟส ซึ่งสามารถเขียนได้ ดังรูปที่ 5.3
รูปที่ 5.3 วงจรเทียบเคียงของสายส่งระยะสั้นต่อเฟส มีค่าพารามิเตอร์  R  และ  L
รูปที่  5.4  เฟสเซอร์ไดอะแกรมของสายส่งระยะสั้น
จากรูปที่  (5.3)  อาศัยหลักการของ KVL จะได้ค่าของสมการเป็นดังนี้
                                VS  =  VR + IRZ           5.3)
                                IS   =    IR                    (5.4)
จากรูปที่  (5.3)  และ  (5.4) เขียนเมตทริกซ์ได้ตามสมการที่  (5.5)
และเป็นค่าคงที่  ABC และ D  ได้ตามสมการที่ (5.6)
ได้ค่าคงที่              A  = 1
                             B  =  Z
                             C  =  0
และ                       D  =  1     ตามลำดับ

5.2.1  การควบคุมแรงดันไฟฟ้า  (Voltage  Regulation )  ของสายส่งระยะสั้น
สามารถหาได้จากความสัมพันธ์ของสมการดังต่อไปนี้

ประสิทธิภาพทางไฟฟ้า  (Electrical  Efficiency )  ของสายส่งระยะสั้น
         ประสิทธิภาพของระบบจะเป็นค่าที่บงบอกถึงความสามารถ ในการจ่ายกำลังผลิตของ ระบบซึ่งหาได้จากสมการดังนี้
     
เมื่อ                  คือ  เครื่องหมายอีต้า ( eta ) แทนประสิทธิภาพ
                PS    คือ  กำลังไฟฟ้าต้นทาง
                PR    คือ  กำลังไฟฟ้าปลายทาง
                Ploss  คือกำลังไฟฟ้าสูญเสียในสายส่ง
       VS  , VR    คือแรงดันไฟฟ้าต่อเฟส  (Perphase  Voltage)  และ สูตรการหาประสิทธิภาพของสายส่ง มีอยู่หลายสูตร ขึ้นอยู่กับความสะดวกและความถนัดในการประยุกต์ใช้งาน
____________________________________________________________________
ตัวอย่างที่ 5.1  สายส่งกำลังไฟฟ้า  3  เฟส  ยาว 10 km  จ่ายกำลังไฟฟ้าให้โหลดแบบสมดุจที่  11  kV , 5000  kW  เพาเวอร์แฟกเตอร์   0.8  ล้าหลัง สายส่งมีค่าความต้านทาน และ ค่ารีแอกแตนซ์ ต่อเฟสต่อกิโลเมตร เป็น  0.1 และ 0.2  ตามลำดับ  จงคำนวณหาค่า
                ก). แรงดันไฟฟ้าต้นทาง
                ข). กระแสไฟฟ้าต้นทาง
                ค). มุมต่างเฟสระหว่างแรงดันไฟฟ้าต้นทางกับแรงดันไฟฟ้าปลายทาง
                ง). เพาเวอร์แฟกเตอร์ต้นทาง( PfS )
                จ). การควบคุมแรงดันไฟฟ้า ( V-R )
                ฉ). ประสิทธิภาพของสายส่ง
วิธีทำ
กำหนดให้แรงดันไฟฟ้าปลายทางเป็นแกนอ้างอิง
 
 
ค). จากข้อ ก. จะได้มุมต่างเฟสระหว่างแรงดันไฟฟ้าต้นทางกับแรงดันไฟฟ้าปลายทางเท่ากับ 2.68๐ หรือ
      เรียกว่ามุมของโหลด (  ) 
ง). เพาเวอร์แฟกเตอร์ต้นทาง( PfS )
รูปที่  5.5 เฟสเซอร์ของแรงดันและกระแส
             
     
______________________________________________________________________
ตัวอย่างที่  5.2  สายส่งกำลังไฟฟ้า 3 เฟส พิกัดแรงดัน  33 kV  ยาว 20.00 ไมล์  ส่งแรงดันไฟฟ้าผ่านหม้อแปลงพิกัด  33/63.6 kV ให้แก่โหลด  2000 kVA  ที่เพาเวอร์แฟกเตอร์  0.8  ล้าหลังแรงดันไฟฟ้า 6.6 kV 50 Hz  ค่าความต้านทาน และรีแอกแตนซ์ของสายส่งมีค่า 0.4  และ 0.5  ต่อเฟสต่อไมล์  ตามลำดับสำหรับหม้อแปลงมีค่าความต้านทาน และ ค่ารีแอกแตนซ์ของขดลวดปฐมภูมิและทุติยภูมิเป็น 7.5  , 13.2  และ 0.65  ตามลำดับ จงคำนวณหา
  1. แรงดันไฟฟ้าด้านต้นทางเมื่อให้แรงดันไฟฟ้าปลายสายคงที่ 6.6 kV
  2. กำลังไฟฟ้าต้นทาง
  3. ประสิทธิภาพของสายส่ง
วิธีทำ
 
รูปที่ 5.6 วงจรของสายส่งกำลังไฟฟ้า  3  เฟส

R  =  0.4 x 20  =  8  /เฟส
Z  =  0.5 x 20  =  j10 /เฟส
รูปที่ 5.7 วงจรเทียบเคียงเมื่อย้ายข้างไปด้านแรงสูง