Translate

วันอาทิตย์ที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

โรงจักรและสถานีไฟฟ้าย่อย


โรงจักรและสถานีไฟฟ้าย่อย         โครงสร้างของระบบไฟฟ้ากำลัง ไม่ว่าจะเป็นระบบเล็กหรือระบบใหญ่จะถูกแบ่งย่อยออก  เป็น 3 ระบบย่อย  ที่ี่สำคัญ มีดังนี้

                     1. ระบบผลิตกำลังไฟฟ้า

                     2. ระบบส่งกำลังไฟฟ้า
 
                     3. ระบบจำหน่ายกำลังไฟฟ้า
ลักษณะการจ่ายพลังงานไฟฟ้าของสถานี
power_sub

หน้าที่และวัตถุประสงค์ของสถานีไฟฟ้า

     1. เป็นจุดเปลี่ยนระดับแรงดันไฟฟ้า
     2. เป็นจุดปรับระดับแรงดันในระบบให้คงที่ก่อนส่งไปยังระบบอื่น
     3. เป็นจุดเชื่อมระหว่างระบบสายส่ง กับ ระบบจำหน่ายไฟฟ้าเข้าด้วยกัน และ นำพลังงาน
         
เข้าหรือ ออกจากระบบ เช่นระบบสายส่ง (ระบบ 115 เควี.) กับระบบจำหน่ายแรงสูง
        (ระบบ 22 , 33 kV ) เป็นต้น
     4. เป็นจุดติดตั้งเครื่องมือวัด เพื่อวัดปริมาณทางไฟฟ้า
     5. เป็นจุดติดตั้งอุปกรณ์ตัดตอน, อุปกรณ์ควบคุมและอุปกรณ์ป้องกัน
     6. เป็นจุดเชื่อมโยงระบบสื่อสาร



     ระบบส่งกำลังไฟฟ้ามี 3 ระบบ คือ

   - ไฟฟ้าแรงสูง (High Voltage : HV) มีระดับแรงดันไฟฟ้าไม่เกิน 230 kV.
   - ไฟฟ้าแรงสูงเอกซ์ตรา(Extra High Voltage : EHV)มีระดับแรงดันไฟฟ้าตั้งแต่ 230 kV-1,000 kV
   - ไฟฟ้าแรงสูงอัลตรา (Ultra High Voltage : UHV) มีระดับแรงดันไฟฟ้าตั้งแต่ 1,000  kV.ขึ้นไป



     ความมุ่งหมายหลักของระบบส่งกำลังไฟฟ้า

     - เพื่อการส่งผ่านกำลังไฟฟ้าจากแหล่งผลิตไปยังผู้ใช้หรือแหล่งจ่ายไฟ
     - เพื่อส่งกำลังไฟฟ้าไปยังศูนย์กลางการจ่ายโหลด
     - เพื่อเชื่อมโยงระบบส่งกำลังไฟฟ้าเข้าด้วยกัน เพื่อเพิ่มความเชื่อถือได้ (Reliability)
       และลดความสูญเสียในระบบไฟฟ้า

Hihg Volt Substaion 115 kV
sub_115kV

sub_outdoor
Hihg Volt Substaion indoor
sub indoor

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น