Translate

วันอาทิตย์ที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

อิเล็กทรอนิกส์กำลัง ( Power Electronic )


อิเล็กทรอนิกส์กำลัง  ( Power Electronic )
วงจรจุดชนวนเกตแบบควบคุมเฟสที่ใช้งานจริง
            เนื่องจากวงจรจุดชนวนเกตที่ใช้วงจรรวมเบอร์ TCA785 ใช้งานได้หลากหลายทั้งวงจรเรียงกระแสควบคุม ได้ 1 เฟส และ 3 เฟส ทุกวงจรรวมทั้งวงจรควบคุมแรงดันไฟสลับทั้ง 1เฟส และ 3 เฟสอีกด้วยวงจรที่ใช้งานจริง ซึ่ง สำหรับวงจรกำลัง ที่กับแหล่งจ่ายไฟสลับ 1 เฟส แสดงในรูปที่ 1 และแผนภาพกรอบของวงจรจุดชนวนเกต แบบ ควบคุมเฟส 1 เฟส แสดงในรูปที่ 2 และรูปคลื่นเอาต์พุตพัลส์จุดชนวนเกตแสดงในรูปที่ 3
        รูปที่ 1 วงจรจุดชนวนเกตที่ใช้วงจรรวม TCA785 แบบ 1 เฟส
                                    

 
รูปที่ 2 แผนภาพกรอบของวงจรจุดชนวนเกตแบบควบคุมเฟส 1 เฟส

          
รูปที่ 3 รูปคลื่นพัลส์เอาต์พุตของวงจรจุดชนวนเกตที่ใช้วงจรรวม TCA785 แบบ 1 เฟส
            การต่อวงจรจุดชนวนเกตแบบควบคุมเฟสกับวงจรเรียงกระแสที่ควบคุมได้ 1 เฟสและวงจรควบคุมแรงดันไฟ สลับ 1 เฟส สามารถนำวงจรจุดชนวนในรูปที่ 3-39 มาต่อกับวงจรกำลังแบบต่างๆ  ได้ดังแสดงในรูปที่ 4 การต่อ วงจรจุดชนวนเกต กับวงจรเรียงกระแส 1 เฟสครึ่งคลื่นควบคุมได้โดยต่อขั้วเอาต์พุตชุดบนที่มี สัญลักษณ ์  หมายถึง เป็นเอาต์พุตพัลส์ ที่ปรับมุมได้ ระหว่าง 0°-180° ในครึ่งวัฏจักรบวก ของแหล่งจ่ายไฟสลับเข้ากับขั้ว  G และ K ของเอส.ซี.อาร์.ใน วงจรกำลัง
   โดยขั้วเอาต์พุตที่ต่อกับเกตคือขั้วที่เป็นต้นขดลวดของหม้อแปลงพัลส์ด้านทุติยภูมิ สังเกตจากสัญลักษณ์ รูปที่ 5 เป็นการต่อวงจรจุดชนวนเกตกับวงจรเรียงกระแส 1 เฟสเต็มคลื่นแบบบริดจ์โดยต่อขั้วเอาต์พุตชุดบน  เข้ากับ เอส.ซี.อาร์.ตัวที่ 1 และตัวที่ 4 และต่อขั้วเอาต์พุตชุดล่าง  เข้ากับเอส.ซี.อาร์. ตัวที่ 2 และตัวที่ 3 เนื่องจาก เอส.ซี.อาร์. ตัวที่ 1 และตัวที่4ทำงานที่มุมจุดชนวน0°-180° และเอส.ซี.อาร์. ตัวที่ 2 และตัวที่ 3 ทำงานที่มุมจุดชนวน 180° - 360°

             
                       รูปที่ 4 การต่อวงจรจุดชนวนเกตกับวงจรเรียงกระแส 1 เฟสครึ่งคลื่นควบคุมได้

        
รูปที่ 5 การต่อวงจรจุดชนวนเกตกับวงจรเรียงกระแส 1 เฟสเต็มคลื่นแบบบริดจ์

             สำหรับการต่อวงจรจุดชนวนเกตกับวงจรควบคุมแรงดันไฟสลับ 1 เฟสแสดงในรูปที่ 6 โดยต่อเอส.ซี.อาร์. 1 กับพัลส์ชุดบวกและต่อเอส.ซี.อาร์. 2 กับพัลส์ชุดลบหรือถ้าใช้ขับไทรแอกก็ทำการต่อเกตได้เช่นกันโดยต่อพัลส์ ชุดบวกอนุกรม กับ พัลส์ชุดลบแล้วจังป้อนเข้าเกต  ของไทรแอกดังแสดงในรูปที่ 7 สำหรับรูปคลื่นพัลส์เอาต์พุต ของวงจรควบคุมในรูปที่ 6 และ 7 แสดงในรูปที่ 8 และ 9

        
รูปที่ 6 การต่อวงจรจุดชนวนเกตกับเอส.ซี.อาร์. ในวงจรควบคุมแรงดันไฟสลับ 1 เฟส

         
รูปที่ 7 การต่อวงจรจุดชนวนเกตกับไทรแอก ในวงจรควบคุมแรงดันไฟสลับ 1 เฟส

           การต่อวงจรจุดชนวนเกตแบบควบคุมเฟส 3 เฟสทำได้โดยการต่อวงจรจุดชนวนเกตแบบ 1 เฟส 3 วงจร และต่อแหล่งจ่ายเฟสที่ 1(L1) เข้ากับ L วงจรชุดที่ 1ต่อแหล่งจ่ายเฟสที่ 2(L2)เข้ากับ L ของวงจรจุดชนวนชุดที่ 2 และต่อแหล่งจ่ายเฟสที่ 3(L3)  เข้ากับ  Lของวงจรจุดชนวนชุดที่3 และต่อ N ของแหล่งจ่ายร่วมกับ N ทั้ง 3 วงจร การต่อแรงดันควบคุม  (Vst)  ต่อเพียงชุดเดียวและต่อ  VS1  (ขา 11)ของวงจรจุดชนวนทั้ง 3 ชุดร่วมกัน ดังแสดง ในรูปที่ 8 และรูปคลื่นพัลส์จุดขนวนเกต 3 เฟสแสดงในรูปที่ 9

                   
รูปที่ 8 รูปคลื่นพัลส์จุดชนวนเกตของเอส.ซี.อาร์. 1 และ 2 ในวงจรรูปที่ 10

                    
รูปที่ 9 รูปคลื่นพัลส์จุดชนวนเกตไทรแอกในวงจรรูปที่ 11

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น