Translate

วันอาทิตย์ที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

การส่งจ่ายกำลังไฟฟ้า ( Transmittion line )


การส่งจ่ายกำลังไฟฟ้า ( Transmittion line )
การคำนวณหาความสัมพันธ์ระหว่างกระแส และ แรงดันในสายส่งกำลังไฟฟ้า
บทนำ
      การหาความสัมพันธ์ระหว่างกระแสและแรงดันไฟฟ้า  ระหว่างปลายสายทั้ง 2 ข้างของสายส่งสามารถกระทำได้  โดยใช้วงจรเทียบเคียงของสายส่งต่อเฟสในการวิเคราะห์หาค่าดังกล่าว  โดยวงจรเทียบเคียงจะใช้แทน สายส่ง ที่ระยะต่างๆกัน 3 ระยะ คือ สายส่งระยะสั้น , ปานกลาง และ ระยะยาว ซึ่งประกอบด้วย พารามิเตอร์( G ) , รีซีสเตอร์ ( R ) , คาปาซิเตอร์( C ) และ คอนดักแตนซ์( L ) โดยเฉพาะค่า คาปาซิแตนซ์ นั้นจะวิเคราะห์ในรูป  ซัสเซปแตนซ์  ( jBC )  ส่วน อินดักแตนซ์  จะวิเคราะห์ในรูปรีแอกแตนซ์ ( jXL )นิวทรัลบัส

รูปที่  5.1 วงจรเทียบเคียงของสายส่งกำลังไฟฟ้า
              วงจรเทียบเคียงตามรูปที่ 5.1 อาจเรียกว่า วงจรเทียบเคียงพารามิเตอร์แบบกระจาย และพึงตระหนักไว้ว่า การวิเคราะห์วงจรสายส่งทั้ง 3 ระยะ จะใช้วงจรเทียบเคียงต่างกันไปด้วย อักษรและสัญลักษณ์ที่ใช้แทน  เพื่อสื่อ ความสัมพันธ์ระหว่างกระแสและแรงดันไฟฟ้ามีดังต่อไปนี้

VS    คือ  แรงดันไฟฟ้า ต้นทางของสายส่งต่อเฟส
VR    คือ  แรงดันไฟฟ้า ปลายทางของสายส่งต่อเฟส
IS     คือ  กระแสไฟฟ้า ต้นทางของสายส่ง
IR    คือ  กระแสไฟฟ้า ปลายทางของสายส่ง
l       คือ  ความยาวของวงจรสายส่ง
r      คือ  ค่าความต้านทานต่อหน่วยความยาวต่อเฟส
xl    คือ  รีแอคแตนซ์ต่อหน่วยความยาวต่อเฟส
R =  rl      คือ  ค่าความต้านทานของสายส่งตลอดความยาวต่อเฟส
x =  xl.l    คือ รีแอคแตนซ์ของสายส่งตลอดความยาวต่อเฟส
z  =  r+jxl.l     คือ  อิมพีแดนซ์ต่อหน่วยความยาวต่อเฟส
Z  =  zl  =  rl+jxl.l  =     คือ  อิมพีแดนซ์ของสายส่งตลอดความยาวต่อเฟส
y      คือ  แอดมิตแตนซ์ต่อหน่วยความยาวต่อเฟสถึงนิวทรัล
Y  =  yl    คือ  แอดมิตแตนซ์ของสายส่งตลอดความยาวต่อเฟสถึงนิวทรัล
Pf     คือ  เพาเวอร์เฟกเตอร์  (Power fecter )
สายส่งกำลังไฟฟ้าระยะสั้น
สายส่งกำลังไฟฟ้าระยะสั้นจะมีระยะทางส่งจ่ายไม่เกิน  80  ก.ม. ( ประมาณ  50  ไมล์ )  ซึ่งจะมี
ค่า คาปาซิเตอร์ ชาร์จไปถึงจุดนิวทรัลหรือชาร์จไประหว่างสายต่ำมาก จึงทำให้ค่าคาปาซิทีฟ รีแอกแตนซ์ ( - jxC ) มีค่าสูง กระแสชาร์จที่ผ่านค่า คาปาซิแตนซ์จึงมีค่าเล็กน้อย  ทำให้มีผลต่อระบบน้อยมากจึงไม่นำมาคิด
 
                ส่วนค่าคอนดักแตนซ์ (G ) มีค่าเล็กน้อยก็ไม่นำมาคิดเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นสายส่งระยะสั้น , ระยะปานกลาง  หรือ ระยะยาว ดังนั้น  วงจรเทียบเคียงของสายส่งระยะสั้นแบบสมบรูณ์จึงเขียนได้ดังนี้
 รูปที่ 5.2 วงจรเทียบเคียงของสายส่งระยะสั้นแบบสมบรูณ์ ส่งผ่านแรงดันไฟฟ้าให้แก่โหลด
                 สมบรูณ์แบบสตาร์โหลด
สำหรับการวิเคราะห์ค่าทางไฟฟ้าในวงจรสายส่งระยะสั้นจะใช้วงจรเทียบเคียง ต่อ เฟส ซึ่งสามารถเขียนได้ ดังรูปที่ 5.3
รูปที่ 5.3 วงจรเทียบเคียงของสายส่งระยะสั้นต่อเฟส มีค่าพารามิเตอร์  R  และ  L
รูปที่  5.4  เฟสเซอร์ไดอะแกรมของสายส่งระยะสั้น
จากรูปที่  (5.3)  อาศัยหลักการของ KVL จะได้ค่าของสมการเป็นดังนี้
                                VS  =  VR + IRZ           5.3)
                                IS   =    IR                    (5.4)
จากรูปที่  (5.3)  และ  (5.4) เขียนเมตทริกซ์ได้ตามสมการที่  (5.5)
และเป็นค่าคงที่  ABC และ D  ได้ตามสมการที่ (5.6)
ได้ค่าคงที่              A  = 1
                             B  =  Z
                             C  =  0
และ                       D  =  1     ตามลำดับ

5.2.1  การควบคุมแรงดันไฟฟ้า  (Voltage  Regulation )  ของสายส่งระยะสั้น
สามารถหาได้จากความสัมพันธ์ของสมการดังต่อไปนี้

ประสิทธิภาพทางไฟฟ้า  (Electrical  Efficiency )  ของสายส่งระยะสั้น
         ประสิทธิภาพของระบบจะเป็นค่าที่บงบอกถึงความสามารถ ในการจ่ายกำลังผลิตของ ระบบซึ่งหาได้จากสมการดังนี้
     
เมื่อ                  คือ  เครื่องหมายอีต้า ( eta ) แทนประสิทธิภาพ
                PS    คือ  กำลังไฟฟ้าต้นทาง
                PR    คือ  กำลังไฟฟ้าปลายทาง
                Ploss  คือกำลังไฟฟ้าสูญเสียในสายส่ง
       VS  , VR    คือแรงดันไฟฟ้าต่อเฟส  (Perphase  Voltage)  และ สูตรการหาประสิทธิภาพของสายส่ง มีอยู่หลายสูตร ขึ้นอยู่กับความสะดวกและความถนัดในการประยุกต์ใช้งาน
____________________________________________________________________
ตัวอย่างที่ 5.1  สายส่งกำลังไฟฟ้า  3  เฟส  ยาว 10 km  จ่ายกำลังไฟฟ้าให้โหลดแบบสมดุจที่  11  kV , 5000  kW  เพาเวอร์แฟกเตอร์   0.8  ล้าหลัง สายส่งมีค่าความต้านทาน และ ค่ารีแอกแตนซ์ ต่อเฟสต่อกิโลเมตร เป็น  0.1 และ 0.2  ตามลำดับ  จงคำนวณหาค่า
                ก). แรงดันไฟฟ้าต้นทาง
                ข). กระแสไฟฟ้าต้นทาง
                ค). มุมต่างเฟสระหว่างแรงดันไฟฟ้าต้นทางกับแรงดันไฟฟ้าปลายทาง
                ง). เพาเวอร์แฟกเตอร์ต้นทาง( PfS )
                จ). การควบคุมแรงดันไฟฟ้า ( V-R )
                ฉ). ประสิทธิภาพของสายส่ง
วิธีทำ
กำหนดให้แรงดันไฟฟ้าปลายทางเป็นแกนอ้างอิง
 
 
ค). จากข้อ ก. จะได้มุมต่างเฟสระหว่างแรงดันไฟฟ้าต้นทางกับแรงดันไฟฟ้าปลายทางเท่ากับ 2.68๐ หรือ
      เรียกว่ามุมของโหลด (  ) 
ง). เพาเวอร์แฟกเตอร์ต้นทาง( PfS )
รูปที่  5.5 เฟสเซอร์ของแรงดันและกระแส
             
     
______________________________________________________________________
ตัวอย่างที่  5.2  สายส่งกำลังไฟฟ้า 3 เฟส พิกัดแรงดัน  33 kV  ยาว 20.00 ไมล์  ส่งแรงดันไฟฟ้าผ่านหม้อแปลงพิกัด  33/63.6 kV ให้แก่โหลด  2000 kVA  ที่เพาเวอร์แฟกเตอร์  0.8  ล้าหลังแรงดันไฟฟ้า 6.6 kV 50 Hz  ค่าความต้านทาน และรีแอกแตนซ์ของสายส่งมีค่า 0.4  และ 0.5  ต่อเฟสต่อไมล์  ตามลำดับสำหรับหม้อแปลงมีค่าความต้านทาน และ ค่ารีแอกแตนซ์ของขดลวดปฐมภูมิและทุติยภูมิเป็น 7.5  , 13.2  และ 0.65  ตามลำดับ จงคำนวณหา
  1. แรงดันไฟฟ้าด้านต้นทางเมื่อให้แรงดันไฟฟ้าปลายสายคงที่ 6.6 kV
  2. กำลังไฟฟ้าต้นทาง
  3. ประสิทธิภาพของสายส่ง
วิธีทำ
 
รูปที่ 5.6 วงจรของสายส่งกำลังไฟฟ้า  3  เฟส

R  =  0.4 x 20  =  8  /เฟส
Z  =  0.5 x 20  =  j10 /เฟส
รูปที่ 5.7 วงจรเทียบเคียงเมื่อย้ายข้างไปด้านแรงสูง

1 ความคิดเห็น: